องค์ประกอบการบริหารเชิงกลยุทธ์และความเป็นเลิศของโรงเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารและความเป็นเลิศของโรงเรียน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งมีวิธีการดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสังเคราะห์จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องขององค์ประกอบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร จำนวน 10 แหล่ง และความเป็นเลิศของโรงเรียน จำนวน 12 แหล่ง ขั้นตอนที่ 2 การประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารและความเป็นเลิศของโรงเรียน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสารและแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 2) การกำหนดกลยุทธ์ 3) การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และ 4) การประเมินกลยุทธ์ โดยการตรวจสอบความเหมาะสมพบว่าทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับผู้รับบริการ 4) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 5) การมุ่งเน้นบุคลากร 6) การมุ่งเน้นการปฏิบัติ และ 7) ผลลัพธ์ โดยการตรวจสอบความเหมาะสมพบว่าทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากขึ้นไป
Article Details
References
กันตวุฒิ การดี. (2565). แนวทางการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
กมลวรรณ สุขเกษม. (2561). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
กฤติยา โพธิ์สอน. (2560). การดำเนินงานตามมาตรฐานความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ ส่งผลต่อความเป็นเลิศของสถานศึกษาของรัฐในเขตตรวจราชการที่ 4 และ 5. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
จักรกฤษณ์ พันธ์โพคา. (2558). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ชลธิชา ร่มโพธิ์ศรี. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์กับการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฐิติกาญจน์ ทำสุนา. (2565). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
ณัฏฐ์ณิชา ชัยนนถี. (2561). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยพะเยา.
ปัญญากร เวชชศาสตร์. (2565). รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ ปรด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2558). องค์ประกอบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พงษ์ดนัย ศรีวิเชียร. (2558). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
พรพิมล อุ่นเสียม. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ภาณุพงศ์ จีรัง. (2560). การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาภาคกลางเขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.
ลัลทริมา วาปีทะ. (2563). ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อการบริหารสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์.
วัชราภรณ์ ทีสุกะ. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
วชิราพร บุนนท์. (2565). การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศิริลักษณ์ ทิพม่อม. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สุปรียา ชินพะวอ. (2562). การพัฒนาแนวทางการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 25. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุนิสา เทศเขียว. (2565). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศในวิถีฐานใหม่ของสถานศึกษาเอกชน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สันวิช แก้วมี. (2561). การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในทศวรรษหน้า. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2565-2568). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2567). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ปี 2567–2568. กรุงเทพฯ: สำนักรางวัลคุณภาพแห่งชาติ.
Bryson & Alston (2005). Creating and implementing your strategic plan. San Francisco: Jossey Bass.
Fred (2005). Strategic Management CONCEPTS AND CASES. Francis Marion University Florence, South Carolina.
Wheelen and Hunger (2006). Strategic Management and Business Policy. (10th ed). New Jersey : Pearson Prentice Hall.