สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สุเทพ ภูวนัตถ์เมธา
อัจฉรา วัฒนาณรงค์
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี
ธารินทร์ รสานนท์

บทคัดย่อ

สมรรถนะเป็นผลรวมของความรู้ความสามารถและศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของบุคคลที่แสดงออกมาให้เป็นที่ประจักษ์ เป็นผลลัพธ์จากการสั่งสมความรู้และการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่องผ่านการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ สมรรถนะเป็นการผสมผสานระหว่างทักษะ องค์ความรู้ พฤติกรรม และคุณลักษณะต่าง ๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพการเรียนรู้และการพัฒนาของนักเรียน ครูที่มีสมรรถนะสูง จะสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้น การพัฒนาและส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ของครูจึงเป็นสิ่งจำเป็น องค์ประกอบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู ประกอบด้วย ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ความสามารถในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ความสามารถในการใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ ความสามารถในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน และความสามารถในการพัฒนาการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน โดยการพัฒนาครู สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การปฐมนิเทศ  การฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน การสอนงาน การหมุนเวียนงาน การฝึกอบรมโดยโปรแกรมพิเศษ การฝึกอบรมโดยการฝึกงาน การศึกษาดูงาน กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว ครูสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครจึงจำเป็นต้องปรับตัวและนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อเตรียมนักเรียนให้พร้อมรับมือกับความท้าทายของโลกปัจจุบันและอนาคต การมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะช่วยให้ครูสามารถสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ทันสมัยและเหมาะสมกับความต้องการของนักเรียน ทำให้นักเรียนมีทักษะที่จำเป็นในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
Academic Article

References

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2564). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เขมณัฐ ภูกองไชย. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ. อุดรธานี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

วิจารณ์ พานิช. (2559). บันเทิงชีวิตครู สู่ชุมชนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

ธงชัย สมบูรณ์. (2563). แก่นความเป็นครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชไมพร ดิสถาพร. (2567). เอกสารประกอบการสอน รายวิชา ศษ431 การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2567, จาก https://ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/16620/1/Edu-Book-ED431.pdf

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). หลักการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพรทิพย์ แข็งขัน. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่ เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สิทธิพล อาจอินทร์. (2564). ศาสตร์และศิลป์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคพลิกผัน.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2565). แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2566 สำนักการศึกษา.

ม.ป.ท.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู.ม.ป.พ.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดความรู้ความสามารถทักษะและสมรรถนะสำหรับตำแหน่ง. นนทบุรี: ประชุมช่าง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579.

กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). เข้าใจสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับประชาชนและเข้าใจหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สกศ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มโดยการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซนจูรี่ จำกัด.

สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2549). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2560). ครูยุคใหม่กับการจัดการเรียนรู้ สู่การศึกษา 4.0. กรุงเทพฯ: เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุจิตรา ยางนอก. (2567). เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาเครือข่ายการเรียนรู้กับการพัฒนาสังคม.สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2567, จาก https://blog.bru.ac.th/wp-content/uploads/bp.attachments/1

สุปราณี จิราณรงค์. (2558). ครูประจำชั้นมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2547). การสร้างสื่อการสอนและนวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพฯ: ราชบุรีธรรมรักษ์การพิมพ์.

สืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา. (2564). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาแนวใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.