การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา Comparing Games

Main Article Content

ปรีชญาภรณ์ อาริภู
ทิพากร บุญยกุลศรีรุ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะ หลังการใช้กิจกรรมเกมการศึกษา Comparing Games และเพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา Comparing Games และซึ่งกลุ่มเป้าหมาย ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ เด็กนักเรียนชายและหญิง อายุรหะว่าง 4-5 ปี ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับฉลากเลือกจำนวน 1 ห้องเรียน จากจำนวน 2 ห้องเรียน จำนวน 32 คน รวมระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ 3 วัน วันละ 30 นาที เครื่องมือและนวัตกรรมที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1.แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรม Comparing Games 2.แบบทดสอบเชิงปฏิบัติการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน (S.D.) และการทดลองสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test แบบ Dependent Samples ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิจัยที่มีต่อการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเกมการศึกษา Comparing Games ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี พบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา Comparing Games หลังการจัดกิจกรรมมีทักษะทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น มีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ด้วยกิจกรรมเกมการศึกษา Comparing Games มีทักษะทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้

คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น

พื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร

แห่งประเทศไทย.

ทิพากร บุญยกุลศรีรุ่ง. (2547). เด็กปฐมวัยกับทักษะพื ้นฐานทางคณิตศาสตร์. ม.ป.ท.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี

ประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปานิตา กุดกรุง. (2553). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ. การค้นคว้าแบบอิสรการศึกษาฃมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2546). การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารการศึกษา

ปฐมวัย. 7(3),23 - 29.

วรรณี โสมประยูร. (2551). ความหมายและความสำคัญทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก

ปฐมวัย. สืบค้น 24 มีนาคม 2566,

จาก http://www.krufonclass4.blogspot.com/p/blog-page.html

Piaget, J. (1983). Piaget's Theory. In P. Mussen (Ed.), Handbook of Child

Psychology (4th ed., Vol. 1). New York: Wiley.