การบริหารการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ แนวคิดจากการศึกษาเอกสาร งานวิจัย แนวคิดทฤษฎีของนักวิชาการทั้งไทยและต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับหลักการ แนวทาง และ เงื่อนไขความสำเร็จในการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรท่ามกลางบริบทการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรได้แก่ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บริบทการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม วัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ และสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ ผู้นำองค์กรจำเป็นต้องนำหลักการบริหารการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 มาปรับใช้ให้เหมาะสม การเปลี่ยนแปลงในองค์กรที่สำคัญ ได้แก่1) การเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย กลยุทธ์ ภารกิจ 2) การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี 3) การใช้วิธีการบริหาร
_________________________________
[1] นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
[1] อาจารย์ ดร. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
จัดการสมัยใหม่และเป็นสากล 4) การสื่อสารการเปลี่ยนแปลง 5) การใช้ศักยภาพบุคลากรและการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ 5) กำหนดโครงสร้าง หน้าที่ขององค์กร และบุคลากร 6) การเตรียมเตรียมทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกในการบริหารการเปลี่ยนแปลง 7) การสร้างวัฒนธรรมองค์กร 8) ภาวะผู้นำ และการสร้างสวัสดิการ สวัสดิภาพความมั่นคง ให้กับบุคลากร 9) การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ 10) การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม และพบว่า การบริหารการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 จะประสบผลสำเร็จได้ดีเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัย สำคัญคือ ความเข้มแข็งของผู้นำ หากผู้นำที่เข้มแข็ง แสดงภาวะผู้นำที่เหมาะสม ผู้นำมีทักษะในการบริหารจัดการสมัยใหม่ และเข้าใจแนวแนวทางในบริหารการเปลี่ยนแปลง จะช่วยให้ขับเคลื่อนภารกิจขององค์กร สามารถนำพาองค์กรสู่การเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 อย่างความยั่งยืน
บทความนี้ จะเป็นประโยชน์กับผู้นำองค์กรทุกระดับ รวมทั้งการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับองค์กรในศตวรรษที่ 21
Article Details
References
กีรติ ยศยิ่งยง. (2552). องค์การแห่งนวัตกรรม:แนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา. (2562). การบริหารการเปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 จาก http://www.phichit.dlt.go.th/mumng/m16.pdf.
ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา. (2551). การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี้.น10-20.
พัชสิริ ชมพูคำ (2552:39) . องค์การและการจัดการ (Organization and Management). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ แมคกรอ-ฮิล.
เนตร์พัณณา ยาวิราช .(2553). การจัดการสมัยใหม่.(พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
สมชาย เทพแสง; อรจิรา เทพแสง; และ อัจฉริยา เทพแสง.(2552).การบริหารจัดการสมัยใหม่ : กุญแจสู่ความเป็นเลิศ. นนทบุรี: เกรท.
วิเชียร วิทยอุดม (2554). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ :ธนธัชการพิมพ์. น.5-7.
วิรัตน์ มาตันบุญ. (2552). การบริหารการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างองค์การของโรงเรียนจอมทอง
จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Hellriegel, Don; Jackson S E. & Slocum, J.W. (2005). Management a Competency-based Approach. New Delhi: Cengage Learning.
Sabau, R.M. (2012). The Importance of Change Management in Development
of Educational Organizations. Managerial Challenges of the Contemporary Society Proceeding. Cluj-Napoca: Babes Bolyai University, 4 (3),131-134.
Meade, Kimberly J. (2013). Developing a Change Management Plan for Organizational Transformation. California : Dominguez Hills.
Sanjay ,Aswale. (2023). A study of Change Management in 21st Century. Retrieved 20 August 2022 from https://www.researchgate.net/publication/260227764.
Victor E. Dike , Ken Odiwe & Donatus M. Ehujor (2015). Leadership and Management in the 21st Century Organizations: A Practical Approach. World Journal of Social Science Research, 2 (2), 139-145.