มาตรการป้องกันการกระทำความผิดคดีอาญาของเด็กและเยาวชน ในศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

น้ำเพ็ชร ศรีกุลยนันทน์
ธาตรี มหันตรัตน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการกระทำความผิดคดีอาญาของเด็กและเยาวชน ในศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุพรรณบุรี และ 2) เพื่อหามาตรการป้องกันการกระทำความผิดคดีอาญาของเด็กและเยาวชน ในศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุพรรณบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างของผู้ให้ข้อมูลมีจำนวนทั้งหมด 65 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างแรก คือ เด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดคดีอาญาและอยู่ในความดูแลของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 38 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบคัดเข้าคัดออก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และกลุ่มตัวอย่างที่สอง คือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 27 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ 1) กลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุพรรณบุรี 2)  กลุ่มนักวิชาการ และ 3) กลุ่มผู้ปกครอง ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการวิจัย


ผลการวิจัย พบว่า 1) ข้อมูลจากเด็กและเยาวชน ประเภทความผิดที่ถูกดำเนินคดีส่วนใหญ่กระทำความผิดคดีเกี่ยวกับทรัพย์มากที่สุด ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการกระทำความผิดมากที่สุด ประกอบด้วย (1) การเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง และ (2) ความคึกคะนองหรือสนุกสนานตามประสาวัยรุ่น ส่วนปัจจัยทางด้านครอบครัว ปัจจัยทางด้านการศึกษา และปัจจัยทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยทั้งสามปัจจัยส่งผลในระดับต่ำ 2) ข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ระบุว่า สาเหตุการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนมาจาก (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ บทบาทการเลี้ยงดูของครอบครัว สุขภาพจิตและการใช้ยาเสพติด บุคลิกภาพ เช่น นิสัยก้าวร้าวและหุนหันพลันแล่น และอิทธิพลจากสื่อโซเชียลมีเดีย (2) ปัจจัยทางด้านครอบครัว ได้แก่ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวที่ขาดความรักและการใส่ใจของผู้ปกครอง ผลกระทบของการใช้ความรุนและสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ (3) ปัจจัยทางด้านการศึกษา ได้แก่ การขาดทักษะพื้นฐานและขาดโอกาสทางการศึกษา รวมถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ และ (4) ปัจจัยทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ แหล่งชุมชนที่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด การคบเพื่อนที่มีพฤติกรรมไม่ดี สภาพเศรษฐกิจที่ไม่ดี และสื่อโซเชียลมีเดียเชิงลบ 3) มาตรการป้องกันการกระทำผิดอาญาของเด็กและเยาวชน ได้แก่ (1) มาตรการป้องกันเชิงครอบครัวที่สนับสนุนการเลี้ยงดูที่อบอุ่นและเต็มใจ (2) มาตรการป้องกันด้านสุขภาพจิตและการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต (3) มาตรการป้องกันด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ (4) มาตรการป้องกันโดยการเสริมสร้างความผูกพันกับครูและเพื่อนนักเรียน (5) มาตรการป้องกันโดยการสร้างชุมชนที่ปลอดภัยและเป็นมิตร

Article Details

บท
Research Articles

References

กรรณิการ์ อินเพลา, (2565) เงื่อนไขปกป้องการไม่กระทำความผิดซ้ำของเยาวชน ที่เคยกระทำผิดทางอาญา. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธนัชชนม์ แจ้งขำ และสุกัญญา อุบลเหนือ, (2563) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน ศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. 10(2): 82-89.

วาสนา ภัทรนันทกุล และสุขสมัย สุทธิบดี, (2565) บทลงโทษเด็กและเยาวชนกับความเหลื่อมล้ำทางสังคม. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 12(2): 310-320.

ศิริวรรณ กมลสุขสถิต กมลสุขสถิต, (2563) แนวทางในการป้องกันและแก้ไขการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดโดยอาศัยปัจจัยที่เป็นตัวทำนายทางด้านอาชญาวิทยา. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 7(1): 3-19.

อิสริยา สันตธรรม และอิสริยา สันตธรรม และอารณีย์ วิวัฒนาภรณ์, (2564) แนวทางการควบคุมตนเองของเด็กและเยาวชนที่ไม่กลับไปกระทำผิดซ้ำในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ กรณีศึกษา ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนพระนครศรีอยุธยา. วารสารกระบวนการยุติธรรม. 14(3): 79-101.

Agnew, R. (1985) A revised strain theory of delinquency. Social Forces. 64(1): 151-167.

Bandura, A. (1969) Social-Learning Theory Of Identificatory Processes. Rand McNally & Company.

Bowlby, J. (1969) Attachment and loss. New York, N.Y.U.S.A: Harmondsworth, Middlesex, England Penguin Books .

Durkheim, E. (1933) The Division of Labor in Society. New York: Macmillan.

Erikson, E. H. (1959) Identity: Youth and Crisis. New York: W. W. Norton & Company, Inc.

Eysenck, H. J. (2013) Crime and Personality. London and New York: Routledge.

Farrington, D. P. (2005) Childhood origins of antisocial behavior. Clinical Psychology Psychotherapy. 12(3): 177-190.

Freud, S. (1995) The Interpretation of Dreams. New York: Basic Books.

Merton, R. K. (1938) Social Structure and Anomie. American Sociological Review. 3: 672-682.

Moffitt, T. E. (1993) Adolescence-limited and life-course-persistent antisocial behavior: A developmental taxonomy. Psychological Review, 100(4): 674-701.

Rutter, M. (2000) Developmental psychopathology: concepts and challenges. Dev Psychopathol, 12(3): 265-296.

Sullivan, H. S. (1953) The Interpersonal Theory of Psychiatry. London: The William Alanson White Psychiatric Foundation.

Tingting, Z. (2022) Juvenile Delinquency from the Perspective of Socialization and Social Control. Journal of Environmental and Public Health, 1-6.

Travis, H. (2009) Causes of Delinquency. New Brunswick (U.S.A) and London (U.K.): Transaction Publishers.