การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงออกแบบสำหรับนักศึกษาสาขาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้หลักสูตรเพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงออกแบบสำหรับนักศึกษาสาขาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลำปาง เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสร้างหลักสูตร ระยะที่ 2 การนำหลักสูตรไปใช้ และ ระยะที่ 3 การประเมินผลหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาพลศึกษา ชั้นปีที่ 2 จำนวน 69 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรเพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงออกแบบ 2) แบบวัดทักษะการคิดเชิงออกแบบ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงออกแบบสำหรับนักศึกษาสาขาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลำปาง มีความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงออกแบบสำหรับนักศึกษา มี 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเป็นมาของหลักสูตร 2) ปรัชญาของหลักสูตร 3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4) ผลการเรียนรู้ของหลักสูตร 5) โครงสร้างของหลักสูตร 6) หน่วยการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 โมดูล ได้แก่ แรงบันดาลใจใฝ่ดี มีการทำงานแบบทีมเวิร์ก เกิดการคิดเชิงออกแบบ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 8) สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ และ 9) การวัดและประเมินผล และ 2. ผลการใช้หลักสูตรเพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงออกแบบสำหรับนักศึกษาสาขาพลศึกษา พบว่า การคิดเชิงออกแบบของนักศึกษาสาขาพลศึกษามีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น และมีความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
ธารทิพย์ ขัวนาและขวัญชัย ขัวนา. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดไตร่ตรองเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาครู สาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลําปาง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 307-319.
ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา, และ ชูจิต ตรีรัตนพันธ์. (2561). การคิดเชิงออกแบบ: เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC).
เพ็ญจมาศ คําธนะและคณะ. (2563). การพัฒนาหลักสูตรการคิดเชิงออกแบบเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะนวัตกรของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 21(1), 130-117.
รวิธ รัตนไพศาลกิจ. (2564). การพัฒนาหลักสูตรนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนาสำหรับเยาวชนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบ. วิทยานิพนธ์ กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมใจ กงเติม. (2563). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 “ศาสตร์พระราชา และการวิจัยเพื่อสร้างดุลยภาพชีวิตในยุค Disruptive Technology” มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จังหวัดนครปฐม, 9 - 10 กรกฎาคม.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี พ.ศ. 2560. นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี.
อรนิภา ไทยแท้ และคณะ. (2566). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูระดับมัธยมศึกษาตามแนวคิดเน้นผลลัพธ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงระบบให้กับผู้เรียน. วารสารครุศาสตร์, 51(2), เมษายน -มิถุนายน, 1-12.
อรัญ วานิชกร. (2559). การออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล และสมยศ ชิดมงคล. (2560). การคิดเชิงระบบ: ประสบการณ์การสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ. วารสารครุศาสตร์, 45(2), 209 –224.
Lor, R. (2017). Design Thinking in Education: A Critical Review of Literature, Asian Conference on Education and Psychology, Bangkok, Thailand. https://www.researchgate.net/publication/324684320.
Goldschmidt, G. (2013). The design thinking approaches of three different groups of designers based on self-reports. Design Studies, 34, 454-471.
Lloyd, P. (2012). Embedded creativity: Teaching design thinking via distance education. International Journal of Technology and Design Education, 23, 749–765.
Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace, and World.