ภูมิศาสตร์ดิจิทัล: การส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน (PhenoBL) ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยนักเรียนร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด มีคะแนนการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และ 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน (PhenoBL) ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/11 โรงเรียนนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน ใช้รูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน เวลา 18 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมในการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกสะท้อนผลการสังเกตชั้นเรียน แบบสัมภาษณ์นักเรียนและแบบวัดการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ (Geo-literacy) ท้ายวงจร และ 3) เครื่องมือในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ แบบวัดการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ (Geo-literacy) และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลคะแนนการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย 27 คะแนน จากคะแนนเต็ม 36 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 75.00 มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 18 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 และเมื่อพิจารณาผลการปฏิบัติตามลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) จำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ พบว่า ในแต่ละวงจร นักเรียนมีคะแนนการรู้เรื่องภูมิศาสตร์สูงขึ้น และจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 2) ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่นักเรียนมีความพึงพอใจสูงที่สุด คือ ด้านสื่อการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ และด้านกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านที่นักเรียนมีความพึงพอใจต่ำที่สุด คือ ด้านขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
Article Details
References
กนก จันทรา. (2561). การรู้เรื่องภูมิศาสตร์ : ถอดบทเรียนประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์
ในชั้นเรียนที่เสริมสร้างการรู้เรื่องภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ชุติกานต์ เอี่ยวเล็ก. (2565). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนโดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อ พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร, 20(1), 257 - 273.
ฌอณรินทร์ วรรณรัตนางกูร. (2562). การพัฒนาการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ในการเรียนภูมิศาสตร์ทวีปเอเชียของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ภูมิศาสตร์. ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศิลปากร.
ณัฏฐ์วัฒน์ อนันตะสุข. (2564). มโนทัศน์ว่าด้วยการสอนภูมิศาสตร์แนวใหม่ เพื่อการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของ นักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15(2), 7- 21
ทัณฑธร จุ้ยสวัสดิ์. (2564). การวิจัยเชิงปฏิบัติการในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เรื่อง จลนศาสตร์เคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการ สอน วิทยาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ธนวัฒน์ ศรีดิสาร. (2565). กิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อสร้างสรรค์ วิถีชีวิตในเมือง สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พงศธร มหาวิจิตร. (2560). นวัตกรรมการเรียนรู้จากฟินแลนด์. นิตยสาร สสวท. 45(209), 40-45.
_______. (2562). การประยุกต์ใช้แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบเชิง
รุกในรายวิชาการประถมศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 42(2), น. 73-90.
พงษ์สิทธิ์ สิงห์อินทร์ (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อเสริมสร้าง ความฉลาดทางสุขภาวะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ภูชิศ สถิตย์พงษ์. (2560). การพัฒนาระบบการสอนภูมิศาสตร์แบบภควันตภาพสาหรับนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขา เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
โรงเรียนนครขอนแก่น. (2566). รายงานการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ปีการศึกษา 2565). ขอนแก่น : ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนนครขอนแก่น.
วริศรา เมืองจันทร์ (2563). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการ เชื่อมโยงคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องรูปเรขาคณิต. ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564. ค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2566, จาก http://www.niets.or.th/
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
หัสวนัส เพ็งสันเทียะ. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานที่มีต่อการคิดอย่างมี วิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดประเมินและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561). การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อการสร้างมุมมองแบบ องค์รวม และการเข้าถึงโลกแห่งความจริงของผู้เรียน. วารสารครุศาสตร์, 46(2), 348-365.
Breckon, J. and Gardner, R. (2004). Geography in the United Kingdom. Belgian Journal of Geography, 30th International Geographical Congress. 175 -192 Retrieved June 10, 2023, Retrieved from: https://journals.openedition.org /belgeo/44158.
Christopher Prisille and Marko Ellerbrake.(2021). Virtual Reality (VR) and Geography Education: Potentials of 360° ‘Experiences’ in Secondary Schools. Retrieved June 15, 2023, Retrieved from: https://link.springer.com/chapter/10.1007/978-3- 658- 30956-5_18
Edelson, Daniel C. 2014. Geo-Literacy: Preparation for 21st Century Decision- Making. Retrieved June 10, 2023, Retrieved from: www.education.nationalgeographic.org/
resource/geo-literacy-preparation-far- reaching-decisions/
Eija Anneli Valanne, Rafeea Msarri Al Dhaheri, Riina Kylmalahti, Heidi Sandholm- Rangell. (2017). Phenomenon Based Learning Implemented in Abu Dhabi School Model. International Journal of Humanities and Social Sciences, 9(3), 1-17.
F Urfan, D Darsiharjo and D Sugandi. Geo-Literacy between School Environment and Students Spatial Intelligence. IOP Conference Series: Earth and Environmental Science, 145(-), 1-10
Islakhiyah, K., Sutopo, S. & Yulianti, L. (2018). Scientific Explanation of Light through Phenomenon-based Learning on Junior High School Student. Advances in Social Science, Education and Humanities Research. 218(ICoMSE 2017), 173– 185.
Jenny C. Cano, Laila S. Lomibao (2023). A Mixed Methods Study of the Influence of
Phenomenon-based Learning Videos on Students’ Mathematics Self- efficacy, Problem-solving and Reasoning Skills, and Mathematics Achievement. American Journal of Educational Research, 11(3), 97-115.
Jerome E. Dobson. (2007). The Panopticon's changing geography. Geographical Review, 97(3), 307-323.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner. 3rd ed. Geelong, Australia: Deakin University Press.
Ministry of Education Singapore. (2023). GEOGRAPHY TEACHING AND LEARNING SYLLABUS Upper Secondary Express and Normal (Academic). Singapore: Curriculum Planning and Development Division.
Silander, P. (2015). Phenomenon based learning rubric. Retrieved June 10, 2023, Retrieved from: http://nebula.wsimg.com/c58399e5d05e6a656d6e74f40b9e0c09? AccessKeyId=3209BE92A5393B603C75&disposition=0&alloworigin=1
Yoshiyasu Ida, Minori Yuda, Takashi Shimura, Shunsuke Ike, Koji Ohnishi, Hideki Oshima. (2015). Geography Education in Japan. SpringerLink.