การสร้างหนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำเรื่อง สระในภาษาไทยสาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ภูริตา สมาธิฤาทัย
สนิท สัตโยภาส
ศศิธร อินตุ่น

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำ เรื่อง สระในภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
2) สร้างหนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำ เรื่อง สระในภาษาไทย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำ เรื่องสระในภาษาไทย 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้หนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำ เรื่อง สระในภาษาไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมูลนิธิมหาราช 5 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ครูสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา 2) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย 3) แบบประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบประเมินความเหมาะสมของหนังสือเสริมประสบการณ์เรียนรู้ 5) หนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำ เรื่อง สระในภาษาไทย 6) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน–หลังเรียน และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) มีนักเรียนที่อ่าน และเขียนสะกดคำไม่ได้นักเรียนมาจากต่างพื้นที่ และเป็นชนชาติพันธุ์จึงทำให้เกิดปัญหาในการจัดการเรียนรู้ 2) ได้หนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำ เรื่อง สระในภาษาไทยที่มีประสิทธิภาพ 84.25/86.03 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำ เรื่อง สระในภาษาไทยสำหรับ คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 21.51 คิดเป็นร้อยละ 71.70 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 25.81 คิดเป็นร้อยละ 86.03 มีคะแนนความก้าวหน้าร้อยละ 14.30 4) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการใช้หนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำ เรื่อง สระในภาษาไทยอยู่ในระดับมากที่สุด (= 2.83 , S.D. = 0.13) ดังนั้นการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำที่สร้างส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสะกดคำสูงขึ้น

Article Details

บท
Research Articles

References

ฉัตรธิดา ศัพทเสวี และสิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์ .(2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา

ภาษาไทย เรื่อง การเขียนมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดราชปักษีที่สอนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, ปีที่ 8 (ฉบับที่ 1). หน้า 103–118

ชุติสรา สำราญ. (2555). การสร้างหนังสือเสริมประสบการณ์ภาษาและวัฒนธรรมไทย เรื่อง

ประเพณีสำคัญของไทยสำหรับชาวต่างประเทศที่มีพื้นความรู้ภาษาไทยในระดับ เกรด 6–8 ของโรงเรียนนานาชาติ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ณัฏฐนาถ สุกสี. (2558). การสร้างแบบฝึกร่วมกับภาพการ์ตูนเพื่อพัฒนาการเขียนสะกดคำที่

มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐพงศ์ เชื้อเพชร และยุรวัฒน์ คล้ายมงคล. (2560). สภาพ และแนวทางแก้ไขปัญหาการอ่าน

สะกดคำ และเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

ประทีป วาทิกทินกร. (2546). การใช้ภาษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ผะอบ โปษะกฤษณะ. 2536. ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : บํารุงศาสน์

พัชรินทร์ กุลกิตติโกวิท (2555). การสร้างหนังสือเสริมประสบการณ์ภาษาไทย สำหรับ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่องมาตราแม่ ก กา และมาตราตัวสะกดในภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ยศ พนัสสรณ์. (2538). ความรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

โรงเรียนมูลนิธิมหาราช 5. (2565). หลักสูตรโรงเรียนมูลนิธิมหาราช 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย พุทธศักราช 2565. เชียงใหม่: โรงเรียนมูลนิธิมหาราช 5.

วินัย รอดจ่าย. (2534). การเขียน และการจัดทำหนังสือสำหรับเด็ก และเยาวชน. กรุงเทพ ฯ :

ตะเกียง.

วรรณี โสมประยูร. (2544). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพ ฯ

: ไทยวัฒนาพานิช.

สนิท สัตโยภาส. (2550). หนังสือ และบรรณสารสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ. บรรณกิจ