ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับการบริหารวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาการบริหารวิชาการของสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต จำนวน 279 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนี้ ด้านการกําหนดทิศทางขององค์การ ด้านการกำหนดกลยุทธ์ ด้านการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ และด้านการนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ ตามลำดับ 2) การบริหารวิชาการของสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ดังนี้ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการนิเทศการศึกษา และด้านการพัฒนา และใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับการบริหารวิชาการของสถานศึกษา โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .844, ≤ .01)
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). เอกสารประกอบการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐมนตรี และราชกิจจานุเบกษา.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). แนวคิดทฤษฎีพื้นฐานการเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 1-9.
ธัญวิทย์ ศรีจันทร์ และคณะ. (2559). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะภาวะผู้นำ ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 29(2), 139-156.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2548). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
มนสิชา ธรรมรักษ์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2549). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.
สมชาย คําปลิว. (2549). การศึกษาบทบาทการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้น พื้นฐานระดับมัธยมศึกษา อําเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา.
สมยศ นาวีการ. (2554). ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: อักษรไทย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต. (2565). เอกสารประกอบผลการทดสอบทางการศึกษา. ภูเก็ต: สำนักงาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2560). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำของคณบดี. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิธร ยงยุทธ และสมศักดิ์ เอี่ยมคงสี. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(1), 33–43.
Chui, L. (1997). A study of carry over effects in marketing (Scale response). Abstracts international.
Finklea. (1997). Principal Leadership Style and The Effective School. Dissertation Abstracts International-A. (CD-ROM). 58(6).
Hitt, M. A., Ireland, R.D. and Hoskisson, R.E. . (2007). Strategic management cases: competitiveness and globalization. United States : Thomson Higher Education.