ผลการจัดการเรียนรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ ตามหลักการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ในห้องเรียนการศึกษาพิเศษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ตามหลักการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากลที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ในห้องเรียนการศึกษาพิเศษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ จำนวนทั้งหมด 12 คน ประกอบด้วย นักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา ระดับปานกลาง จำนวน 4 คนและนักเรียนออทิสติก จำนวน 8 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ห้องเรียนการศึกษาพิเศษ โรงเรียนเรียนรวม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แบบสำรวจสิ่งเสริมแรง และแบบสังเกตพฤติกรรม 2) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการ ได้แก่ แผนจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ตามหลักการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล จำนวน 4 แผน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเบื้องต้น ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ จากนั้นแสดงผลข้อมูลเป็นกราฟเส้น และเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทุกคน หลังจากการจัดการเรียนรู้ตามหลักการออกแบบที่เป็นสากล นักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ตามเกณฑ์ที่กำหนด
Article Details
References
ณัฐกฤตา ทองบ่อ, สุปรียา ศิริพัฒนกุลขจร และสันติรัฐ นันสะอาง. (2561). การพัฒนาแบบฝึกตามหลักการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล เพื่อพัฒนาสมรรถนะคนพิการด้านการเขียนแบบ. วารสารบัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(1), 38 - 49.
สมเกตุ อุทธโยธา. 2558. การเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนปกติ.
กรุงเทพฯ: สำนักงานแพรวการพิมพ์.
Center for Applied Special Technology. 2018. Universal Design for Learning Guidelines version 2.2. (Online). http://udlguidelines.cast.org, April 1, 2020
Center for Applied Special Technology. 2011. “Universal design for learning (UDL) Guidelines: Full-Text Representation Version 2.2.” IDEAs that work (1 February 2011): 1-35
Courey1, S. J., P. Tappe1, J. Siker1 and P. LePage. 2012 “Improved Lesson Planning With Universal Design for Learning (UDL).” SAGE Teacher Education and special Education (2012) : 7-27
King-Sears and Johnson. 2020. “Universal Design for Learning Chemistry Instruction for Students With and Without Learning Disabilities.” SAGE Remedial and Special Education. (2020)
Margaretha Vreeburg. 2012. “Universal Design for Learning: Enhancing
Achievement of Students with Disabilities ” Procedia Computer
Science. Vol. 14 (2012): 343-350
McCord, K. (2013). Universal design for learning: special educators integrating the Orff approach into their teaching. Approaches: music therapy & special music education, 5(2), 188-193.
Office of the Education Council.(2017) . National Education 2017-2036. Bangkok : Office of the Education Council.