การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยตามแนวคิดของบลูม ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

Main Article Content

จินดานุวรรธน์ บำรุงเจริญสุข
สมศักดิ์ เอี่ยมคงสี

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของครูผู้สอนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ต่อระดับการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยตามแนวคิดของบลูม กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ได้กลุ่มตัวอย่างครูผู้สอน จำนวน 361 คน ใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างขั้นแรกแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) และสุ่มตัวอย่างแบบง่ายตามสัดส่วนประชากรแต่ละโรงเรียน (Proportional simple random sampling) ได้แบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ 370 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามชนิดแบบตรวจสอบรายการ (Check list) มีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวมครูผู้สอนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนออนไลน์สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยตามแนวคิดของบลูม ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับประยุกต์ใช้และระดับเข้าใจ โดยครูผู้สอนส่วนน้อยมีความคิดเห็นว่าสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ระดับคิดสร้างสรรค์ เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า 1. ด้านกลวิธีและกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่า จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ครูกำหนดในการสอนออนไลน์ สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยของผู้เรียนในระดับประยุกต์ใช้ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 34.05 2. ด้านผู้สอนและผู้เรียน พบว่า ทักษะการสอนออนไลน์ของครูส่งผลให้ผู้เรียนสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยของผู้เรียนในระดับเข้าใจในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 31.08 3. ด้านระบบเครือข่ายเทคโนโลยีออนไลน์ พบว่า โปรแกรมการวัดและประเมินผลของครูที่ใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์ทำให้ผู้เรียนสะดวกจนสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยของผู้เรียนระดับประยุกต์ใช้ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30.75 4. ด้านการสนับสนุนของผู้บริหาร พบว่า การจัดหาสิ่งสนับสนุนของผู้บริหารเกี่ยวกับการสอนออนไลน์สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยของผู้เรียนระดับประยุกต์ใช้ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30.24

Article Details

บท
Research Articles

References

กนกวรรณ มณีฉาย และแสงดาว ประสิทธิสุข. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเรียนรู้

แบบออนไลน์ (e-learning) ของพนักงานธนาคารออมสิน เขตสุราษฎร์ธานี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการก่อนเปิดภาคเรียน 1

กรกฎาคม 2563. เข้าถึงได้จาก https://moe360.blog/2020/05/08/. 1กรกฎาคม 2565.

กฤษณา สิกขมาน. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการสื่อสารภาษาอังกฤษ

ธุรกิจ โดยการใช้การสอนแบบ E-Learning. รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

กิตติพงษ์ ปราโมทกุล และวัชรา หมัดป้องตัว. (2562). การพัฒนารูปแบบการสอนไวยากรณ์โดยใช้

ระบบ Google Classroom ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทพศิรินทร์ ร่มเกล้า. วารสารวิชาการครุศาสตร์ สวนสุนันทา. 3(2): กรกฎาคม - ธันวาคม 2562. หน้า 31-40.

จิรายุทธิ์ อ่อนศรี. (2564). การพัฒนาแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้สู่การปฏิบัติในศตวรรษที่ 21 ทฤษฎี

การเรียนรู้ของ Bloom (Bloom’s Taxonomy). เข้าถึงได้จากhttp://www.nwm.ac.th/nwm/wp-content/uploads.pdf. 3 สิงหาคม 2564.

ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2557). จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ e-Learning: from theory to practice.

โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. กรุงเทพ: สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

ธนพรรณ ทรัพย์ธนาดล. (2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนบทเรียน

ออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. วารสาร Veridian E-Journal SU. 4(1). (May – August, 2011). 652 – 666.

มณีนุช นิธิพงษ์วนิช. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จทางการเรียนของพนักงานธนาคารกสิกร

ไทยที่ได้รับการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning). บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศรีปทุม

วรากรณ์ สามโกเศศ. (2563). 6 ปัจจัย เรียนออนไลน์ให้ได้ผล. เข้าถึงได้จาก

https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/881331. 10 กรกฎาคม 2564.

วิทยา วาโย และอภิรดี เจริญนุกูล. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่

ระบาดของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสาร

ศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-298.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพ:

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Anderson, L. W. & Krathwohl, D. R. (2001). A taxonomy for learning, teaching, and

assessing: A revision of Bloom’s taxonomy of educational objectives. New York: Addison Wesley Longman. Bloom’s revised taxonomy, 1956.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities.

Educational Psychological Measurement, 30(3), 607-610.