การพัฒนาทักษะการพูดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีน โดยใช้วิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับสื่อมัลติมีเดียของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาจีนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนโดยใช้วิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการใช้วิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/11 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา จำนวน 42 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ซึ่งได้เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ร่วมกับสื่อมัลติมีเดียจำนวน 9 แผน จำนวนเวลา 18 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบทักษะการพูดภาษาจีน 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้วิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย 5) แบบสังเกตพฤติกรรมการพูดภาษาจีน และ 6) แบบสะท้อนผลการสอน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test แบบ dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการพูดภาษาจีนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการใช้วิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่ 2 (ภาษาจีน) โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา. (2565). ข้อมูลสารสนเทศกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่ 2 (ภาษาจีน) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา. โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา.
คุณาพร มีเจริญ. (2563). การพัฒนาความสามารถในการฟัง-พูดภาษาจีน ด้วยการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ดวงกมล นามสองชั้น. (2562) สื่อมัลติมีเดียกับการสอนภาษาจีน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 16(1). https://so05.tcithaijo.org/index.php/rmuj/
article/view/258430/173953
เยาวพร ศรีระษา, &จิระพร ชะโน. (2561). การจัดกิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร CLT ประกอบชุดสื่อประสม เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารการวัดผลการศึกษา, 24(1). https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemmsu/article/view/146843/108204
วรดา ไชยพิมพ์. (2565). เรื่อง การพัฒนาทักษะการฟัง ทักษะการพูด และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วรานันท์ อิศรปรีดา. (2565). มัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ : การออกแบบ การพัฒนาและการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง. (2563). ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจจีน. Retrieved June 14, 2024, from https://thaiembbeij.org/th/republic-of-china/investment/
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับมัธยมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด
สุภัทรา โยธินศิริกุล. (2560). การศึกษาเหตุผลในการเลือกเรียนและทัศนคติที่มีต่อการเรียนภาษาจีนกลางของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้. วารสารสุทธิปริทัศน์, 31 (97). https://so05.tci-thaijo.org/ index.php/DPUSuthiparithatJournal/
article/view/243711/165398
Morrow, K. (1981). Principle of Communicative Methodology. Communicative in the Classroom Edited by K. Johnson and K. Morrow. Essex: Longman Group.