การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • ไฟล์บทความขนาดหน้ากระดาษ A4 ระยะขอบห่าง 1 นิ้วทั้งสี่ด้าน จำนวน 8-15 หน้า (รวมรายการอ้างอิง) ใช้โปรแกรม Microsoft Words สกุล .doc/.docx ตัวอักษร TH SarabunPSK โดยใช้รูปแบบการเขียนบทความตามที่วารสารกำหนด
  • บทความมีชื่อ-นามสกุล ผู้เขียน หน่วยงานที่สังกัด บทคัดย่อ และคำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมระบุ e-mail ของผู้ประสานงาน
  • การอ้างอิงบรรณานุกรมใช้รูปแบบ APA 7th edition ทั้งการอ้างอิงในเนื้อหาและส่วนท้ายเฉพาะที่ปรากฎในบทความเท่านั้น
  • บทความที่จะตีพิมพ์ทุกบทความจะต้องไม่เคยถูกตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น
  • ผู้เขียนต้องคำนึงถึงจริยธรรมไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง บทความต้องมีค่าความซ้ำของผลงาน (โปรแกรม CopyCatch) ไม่เกินตามค่าที่วารสารกำหนด
  • ระบุหมายเลขโทรศัพท์และ e-mail ที่สามารถติดต่อได้ เพื่อใช้ในการประสานงานใน "ข้อความถึงบรรณาธิการ"

คำแนะนำผู้แต่ง

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารปัญญาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารปัญญาอย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสาร

           ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารปัญญาถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารปัญญารวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัยไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง

 

การจัดเตรียมบทความ 

บทความวิจัย

ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

1) บทคัดย่อ (Abstract) เสนอวัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการวิจัยและผลการวิจัยโดยสรุปมีความกะทัดรัด และสั้น

2) บทนำ (Introduction) ระบุความสำคัญของปัญหาการวิจัยกรอบแนวคิดและระบุวัตถุประสงค์การวิจัย

3) ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) ระบุแบบแผนการวิจัยการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล

4) ผลการวิจัย (Results) เสนอผลที่พบตามวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับอย่างชัดเจน ควรเสนอในรูปตารางหรือแผนภูมิ

5) อภิปรายผลการวิจัย (Discussion) เสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของผลการวิจัยกับกรอบแนวคิด และงานวิจัยที่ผ่านมา ไม่ควรอภิปรายเป็นข้อ ๆ แต่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด

          6) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย (New Body of Knowledge) สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย ทั้งรูปแบบของแผนภูมิรูปภาพและข้อความ

7) สรุป (Conclusion) ระบุข้อสรุปที่สำคัญ

8) ข้อเสนอแนะ (Suggestion)

นำเสนอ 2 ประเด็น คือ 1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 2) ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย

9) เอกสารอ้างอิง (Reference) การอ้างอิงในเนื้อเรื่องใช้ระบบ APA 7th edition

 

บทความวิชาการ

ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

               1) บทคัดย่อ (Abstract)

               2) บทนำ (Introduction)

               3) เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามสำดับ

               4) สรุป (Conclusion)

               5) ข้อเสนอแนะ (Suggestion)

               6) เอกสารอ้างอิง (Reference) การอ้างอิงในเนื้อเรื่องใช้ระบบ APA 7th edition

 

สิทธิของบรรณาธิการ

ในกรณีที่กองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินบทความมีความเห็นว่าควรแก้ไข กองบรรณาธิการจะส่งคืนเพื่อให้เจ้าของบทความแก้ไข โดยจะยึดถือข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินเป็นเกณฑ์หลัก และหรือขอสงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาไม่ตีพิมพ์ ในกรณีที่รายงานการวิจัย บทความทางวิชาการหรือบทความวิจัยไม่ตรงกับแนวทางของวารสารปัญญา หรือไม่ผ่านการพิจารณาของกองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญเมื่อบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ผู้เขียนจะได้รับวารสาร ลิ้งค์ฉบับที่นำบทความลงตีพิมพ์ พร้อมกับหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความในวารสารปัญญา

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและอีเมล์ที่กรอกไว้ในวารสารจะใช้ในกระบวนการของวารสารนี้เท่านั้น