พฤติกรรมการท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวเชิงศาสนาของนักท่องเที่ยวไทย ในจังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • ดวงรัตน์ โกยกิจเจริญ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการท่องเที่ยว, สถานที่ท่องเที่ยวเชิงศาสนา

บทคัดย่อ

การวิจัยพฤติกรรมการท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวเชิงศาสนาของนักท่องเที่ยวไทยในจังหวัดภูเก็ต ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 26 – 35 ปี มีสถานะภาพโสด จบการศึกษาระดับปริญญาตรี นับถือศาสนาพุทธ มีรายได้ต่อเดือน 15,001 – 25,000 บาท ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีภูมิลำเนาอยู่ที่ภาคใต้ ใช้เวลาในการท่องเที่ยวแค่วันเดียว และเดินทางท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยว 2 แห่ง โดยเที่ยว 2-3 ครั้งต่อปี ด้านพฤติกรรมในการตัดสินใจท่องเที่ยว พบว่า มีวัตถุประสงค์ในการมาท่องเที่ยว เพื่อกราบไหว้พระ / ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พาหนะที่ใช้ในการเดินทางมายังสถานที่ท่องเที่ยว คือรถยนต์ส่วนตัว นักท่องเที่ยวได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวจากเพื่อน และเคยปฏิบัติกิจกรรมไหว้นมัสการพระ มาก่อน ส่วนใหญ่ตัดสินใจที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวเชิงศาสนาด้วยตนเอง และได้กราบไหว้พระ / ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขณะที่มาท่องเที่ยว ในการวางแผนจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวนั้นมีการจัดรายการเดินทางด้วยตนเองทั้งหมด ส่วนใหญ่มีผู้ร่วมเดินทางด้วย 3 คน นิยมท่องเที่ยวใน วันเสาร์ – อาทิตย์ ใช้จ่ายเงินเพื่อทำบุญ ใช้จ่ายส่วนตัว บูชาวัตถุมงคล และซื้อของที่ระลึก น้อยกว่า 500 บาท ส่วนใหญ่มีโอกาสจะกลับมาท่องเที่ยวซ้ำอีก และจะแนะนำคนรู้จักให้เดินทางมาท่องเที่ยว

ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่าปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติมีอิทธิพลต่อการท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวเชิงศาสนามากที่สุด รองลงมาคือปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม และปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ส่วนปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวเชิงศาสนามากที่สุดคือ ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ รองลงมาคือปัจจัยด้านสถานที่ และปัจจัยด้านกระบวนการ / การให้บริการ  นักท่องเที่ยวชาวไทยมีปัญหาและอุปสรรคในการท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวเชิงศาสนาอยู่ในระดับมาก  โดยมีความคิดเห็นว่าความสะดวกสบายในการเดินทางไปศาสนสถานเป็นปัญหาและอุปสรรคมากที่สุด  รองลงมาคือความสะดวกสบายในการท่องเที่ยว ศาสนสถาน และการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะในศาสนสถาน

References

กมลภัตร ศรีตะวัน. (2556). ปัจจัยแรงจูงใจนักท่องเที่ยวชาวไทยต้อการท่องเที่ยวเชิงศาสนา : กรณีศึกษาวัดบูรพาภิราม อำเภอเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด. (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ทักษิณา คุณารักษ์. (2545). การส่งเสริมการท่องเที่ยวเบื้องต้น. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2549). การวิจัยการตลาด (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: DIAMOND IN BUSINESS WORLD.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2550). กลยุทธ์การตลาดและการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยมุ่งที่ตลาด. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

สุรีรัตน์ เตชาทวีวรรณ. (2545). เอกสารประกอบการสอน วิชาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว (Tourist Behavior). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Chen, C.-F., and Chen, F.-S. (2010). Experience quality, perceived value, satisfaction and behavioral intentions for heritage tourists. Tourism Management 31 (1) : 29-35

Dickman, C.R. (1996). Overview of the Impacts of Feral Cats on Australian Native Fauna. Australian: Nature Conservation Agency.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24