การศึกษาวิเคราะห์จริยธรรมของนักการเมืองไทยตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ

ผู้แต่ง

  • พลธรรม ปันต๊ะ

คำสำคัญ:

วิเคราะห์จริยธรรม, นักการเมืองไทย, กฎหมายรัฐธรรมนูญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาหลักและความสำคัญของกฎหมายรัฐธรรมนูญไทย  2) เพื่อศึกษาจริยธรรมของนักการเมืองตามหลักพุทธปรัชญา และ 3) เพื่อวิเคราะห์จริยธรรมของนักการเมืองไทยตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ รวมถึง การศึกษาวิเคราะห์ กลไก ระบบการบังคับใช้จริยธรรมนักการเมืองไทยตามรัฐธรรมนูญนั้นว่ามี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากน้อยเพียงใด การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิจัยเอกสาร ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากพระไตรปิฎก หนังสือ ตำราวิชาการ งานวิจัย สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ เรื่องจริยธรรมนักการเมืองไทยตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ

            ผลการวิจัยพบว่า นักการเมืองไทยทราบถึงบทบัญญัติของกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา อีกทั้งนักการเมืองไทยส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน รู้และเข้าใจกฎหมาย ประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  สภาพปัญหาและอุปสรรคของการบังคับใช้จริยธรรมของนักการเมืองและกฎหมาย คือ (1) นักการเมืองไทยไม่ค่อยเคารพกฎหมายและจริยธรรม อย่างแท้จริงกล่าวคือการนำไปปฏิบัตินั้นยังมีจำนวนน้อย และ (2) กลไก ระบบ การบังคับทางจริยธรรมและกฎหมายยังไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งๆ ที่นักการเมืองเป็นวิชาชีพที่สำคัญและมีบทบาทอย่างสูงต่อสังคมและประเทศ

References

ทินพันธ์ นาคะตะ. (2536). การเมืองการบริหารไทย : ภาระของชาติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2551). จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับบลิชชิ่ง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-05