การพัฒนาคู่มือและสร้างเครือข่ายการสอนรายวิชาการต่อต้านการทุจริต ในมหาวิทยาลัยในเขตภาคเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์สายันต์ ใยสามเสน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คำสำคัญ:

การพัฒนาคู่มือ, เครือข่ายการสอน, การต่อต้านการทุจริต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาคู่มือการสอนเพื่อปลูก ปลุก ปรับเปลี่ยนฐานความคิดของนักศึกษาในการต่อต้านการทุจริต 2) เพื่อสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการสอนวิชาการต่อต้านการทุจริตในมหาวิทยาลัยในเขตภาคเหนือตอนบน และ 3) เพื่อสังเคราะห์และประเมินผลการพัฒนาคู่มือและสร้างเครือข่ายการสอนวิชาการต่อต้านการทุจริตในมหาวิทยาลัยในเขตภาคเหนือตอน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี พื้นที่วิจัย คือ มหาวิทยาลัยในเขตภาคเหนือตอนบน 12 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและคณาจารย์ บุคลากร นิสิต นักศึกษาในสถาบันการศึกษาทั้ง 12 สถาบันๆ 40 คน รวม 480 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน และเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

1) คู่มือฯ มี 13 บท ใช้สอน 15 สัปดาห์ๆ 3 ชั่วโมง ได้แก่ (1) ความหมายของการทุจริต (2) ประเภทและรูปแบบของการทุจริต 3) ผลประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม (4) สาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งของผลประโยชน์ส่วนตน และผลประโยชน์ส่วนรวม (5) ผลกระทบของการทุจริตที่มีต่อสภาวะทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม (6) ผลกระทบของการทุจริตที่มีต่อพัฒนาการและความเจริญเติบโตของประเทศไทย (7) สาเหตุ และปัจจัยที่ก่อให้เกิดการทุจริต (8) หลักธรรมาภิบาลสากลในการปฏิบัติงาน (9) นโยบายและแนวทางในการบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล (10) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในระดับสากล ระดับประเทศ (11) ทัศนคติ และความตระหนักถึงผลกระทบที่ร้ายแรงของการทุจริต (12) จิตสำนึกความเป็นพลเมืองดีในการป้องกันและต่อต้านการทุจริต และ (13) แนวทางในการพัฒนาตนเองเพื่อหลักเลี่ยงการทุจริต

2) เครือข่ายการสอนวิชาการต่อต้านการทุจริตของสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 12 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่มีการจัดทำประมวลการสอนรายวิชาที่เหมาะสมกับสังคมเชียงใหม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ให้สังคมตระหนัก ตื่นตัว ต่อต้านไม่จำยอมต่อการทุจริตและไม่ยอมรับการทุจริตด้วยการบูรณาการความร่วมมือของผู้บริหารและผู้ทรงคุณวุฒิจนสำเร็จลุล่วง

3) คู่มือฯ มีค่าเฉลี่ยระดับความเหมาะสมของการประเมินคุณภาพคู่มือจากผู้เชี่ยวชาญ 7 คน อยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นทั่วไปเกี่ยวกับคู่มืออยู่ในระดับมากที่สุด สามารถนำไปใช้ในการสอนให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ได้

References

จารุวรรณ สุขุมาลพงษ์. (2559). แนวโน้มของคอรัปชั่นในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: รัฐสภา.

ฐานันท์ วรรณโกวิท. (2560). ประสบการณ์จากการฝึกอบรมเส้นทางคอร์รัปชั่น ณ มหาวิทยาลัยตูลูส 1 กาปิโตล สาธารณรัฐฝรั่งเศส. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลยุติธรรม.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. (2559). เอกสารการเรียนรู้วิชาวัยใส ใจสะอาด. กรุงเทพฯ: สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2549). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2558). ประมวลการสอนรายวิชา การต่อต้านการทุจริต. เชียงใหม่: สำนักงาน.

United Nations. (1989). Corruption and anti-corruption strategies. Retrieved June 22, 2018, from https://mirror.undp.org/magnet/Docs/efa/corruption/Chapter03.pdf.

UNODC. (2009). Corruption Compendium of international legal instrument on corruption. Retrieved June 22, 2018, from https://www.unodc.org/documents/corruption/publications_compendium_e.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-25