การใช้หลักพรหมวิหารธรรมในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ ของพระสังฆาธิการธรรมยุต จังหวัดนครศรีธรรมราช

การใช้หลักพรหมวิหารธรรมในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ ของพระสังฆาธิการธรรมยุต จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • Tippamas Sawetworrachot 0866299115

คำสำคัญ:

พรหมวิหารธรรม, การบริหารกิจการคณะสงฆ์, พระสังฆาธิการ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการใช้หลักพรหมวิหารธรรมในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการธรรมยุต 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้หลักพรหมวิหารธรรมในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการธรรมยุต ที่มีพรรษา อายุ วุฒิการศึกษาทางธรรม และวุฒิการศึกษาสามัญ ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาปัญหา และแนวทางการแก้ไขเกี่ยวกับการใช้หลักพรหมวิหารธรรมในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการธรรมยุต การวิจัยครั้งนี้กำหนดรูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน (Mixed methodology research) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประชากร ได้แก่ พระภิกษุในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 415 รูปกลุ่มตัวอย่าง และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 รูป

ผลการวิจัยพบว่า

1) ผลการศึกษาการใช้หลักพรหมวิหารธรรมในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการธรรมยุต โดยรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเมตตาธรรม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านมุทิตาธรรม ส่วน ด้านกรุณาธรรม มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด

2) ผลการเปรียบเทียบการใช้หลักพรหมวิหารธรรมในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการธรรมยุต จำแนกตาม พรรษา อายุ วุฒิการศึกษาทางธรรม และวุฒิการศึกษาสายสามัญ ต่างกัน พบว่า จำแนกตามพรรษา จำแจกตามวุฒิการศึกษาทางธรรม และจำแนกตามวุฒิการศึกษาสายสามัญ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามอายุ โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้หลักพรหมวิหารธรรมในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการธรรมยุต พบว่า ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ คณะสงฆ์ในความเป็นบุคคล พื้นที่ บริบท สภาพความเป็นอยู่ก็จะแตกต่างไป เพราะฉะนั้นบริหารกิจการคณะสงฆ์อาจจะไม่ทั่วถึง เช่นถ้าหากว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดก็อาจจะทั่วถึงโดยไม่ต้องมีการขอ ไม่ต้องมีการบอกกล่าว แต่หากว่าเป็นพระผู้น้อยที่ไม่มีความใกล้ชิด ที่อยู่ห่างไกล อาจจะขาดตกบกพร่องไปบ้าง แต่เจ้าคณะปกครองก็ไม่ได้เอาใจใส่ ไม่ได้ดูแล เท่าที่ควร แนวทางการแก้ไขปัญหา พระสังฆาธิการควรที่จะต้องเข้าไปดูแลวัดในเขตที่ตนเองปกครองให้มากขึ้น เพื่อที่จะให้การบริหารกิจการคณะสงฆ์จะเป็นไปโดยเรียบร้อย

References

มณีรัตน์ โชติวุฑฒากร. (2548). พระบรมราโชวาทด้านศาสนาและคุณธรรม. ราชบุรี: โรงพิมพ์ศรี-อักษร.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ส่งศรี ชมภูวงศ์. (2549). การวิจัย. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช.

สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2527). พรหมวิหารธรรม. กรุงเทพฯ: สหายการพิมพ์จำกัด.

สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2541). พระธรรมเทศนาทั่วไป. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ). (2535). กฎหมายที่พระสงฆ์ควรทราบ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2561). รายงานสรุปจำนวนวัด พระภิกษุ และสามเณรในจังหวัดนครศรีธรรมราช พุทธศักราช 2561. สืบค้น 25 มิถุนายน 2560, จากhttp://nrt.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=132&Itemid=115

อุทิศ การเพียร. (2558). การบริหารบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร 4 ในทัศนะของ บุคลากรตำแหน่งปฏิบัติ การวิชาชีพและบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-25