แนวทางการพัฒนาการควบคุมภายในของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 35

ผู้แต่ง

  • สังวาร วังแจ่ม

คำสำคัญ:

การควบคุมภายใน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา, ความเสี่ยง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินการควบคุมภายใน 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการควบคุมภายใน ประชากรคือ หัวหน้ากลุ่มงาน ผู้รับผิดชอบงานการควบคุมภายใน ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบงานการควบคุมภายในของสถานศึกษา รวมประชากรทั้งสิ้น 99 คน เครื่องมือ ได้แก่แบบบันทึกข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิ แบบบันทึกการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มตามแนว CIPP Model วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1) การดำเนินการควบคุมภายใน ด้านบริบท (C) คือมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่ถือเป็นแนวปฏิบัติทำให้สถานศึกษาสับสนในการดำเนินการ ปัญหาที่พบคือผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจไม่เพียงพอและมีการเปลี่ยนผู้รับผิดชอบงานการควบคุมภายในระหว่างปีทำให้การดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง ด้านปัจจัย (I) คือ งบประมาณที่ใช้ดำเนินโครงการไม่เพียงพอ บุคลากรเปลี่ยนย้ายงาน ผู้รับผิดชอบงานใหม่ขาดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการ ด้านกระบวนการ (P) คือการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากรด้วยการอบรมมีความสำเร็จร้อยละ80 การติดต่อประสานงานกับสถานศึกษาและการนิเทศ ติดตามผลยังไม่เพียงพอ ด้านผลผลิต (P) คือการจัดทำรายงานมีความถูกต้อง แต่ไม่ครอบคลุมภาระงาน การวางแผนการบริหารความเสี่ยงยังดำเนินการไม่เหมาะสม

2) แนวทางการพัฒนาการควบคุมภายใน คือ ควรสร้างแกนนำในการควบคุมภายในจากบุคลากรในสถานศึกษา มีบทบาทในการนิเทศกำกับติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษาร่วมกับเขตพื้นที่ และควรกำหนดนโยบายให้มีการปรับปรุงแผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อนำความเสี่ยงที่ได้จากการประเมินเมื่อสิ้นปีงบประมาณไปวางแผนการบริหารเพื่อลดความเสี่ยงให้ทันเวลา

References

กระทรวงการคลัง. (2561). มาตรฐานการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.

ปิญะธิดา อมรภิญโญ. (2560). การใช้การควบคุมภายในเพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจการผลิตขนาดย่อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น, 11(1), 186-204.

สรัญญา ทั้งสุข และกมลทิพย์ คำใจ. (2561). การประเมินผลการควบคุมภายใน และแนวทางการพัฒนา ระบบการควบคุมภายใน ของเทศบาลในเขตจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(2), 141-154.

สังวาลย์ วังแจ่ม. (2559). รูปแบบการบริหารการควบคุมภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือวารสารบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 16(3), 381.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการจัดทำรายงานการประเมินผลการควบคุม ภายใน ประจำปีงบประมาณ 2561. สืบค้น 25 ตุลาคม 2563, จาก http://www.cpn2.go.th/wp-content/uploads/2019/08/1.หนังสือแจ้งจาก-สพฐ.pdf

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2561). การปรับปรุงมาตรฐานตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา. สืบค้น 25 ตุลาคม 2563, จาก https://otepc.go.th/images/00_YEAR2561/04_PV2/191261ว24.pdf

สุวินชา การพัดชี และอภิรดา สุทธิสานนท์. (2558). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการควบคุมภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารทางวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 10(1), 107-120.

Stufflebeam, D. L. et al. (1977). Phi Delta Kappa national study: Education evaluation and decision making. Indiana: Phi Delta Kappa.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-24