การปฏิบัติงานตามภารกิจของนักบริบาลชุมชน ในเขตอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การปฏิบัติงาน, ภารกิจ, นักบริบาลชุมชนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบทชุมชน สถานการณ์ผู้สูงอายุ บทบาทหน้าที่ และระบบการ ปฏิบัติงานของนักบริบาลชุมชน 2) การปฏิบัติงานตามภารกิจและคุณลักษณะ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่พยาบาลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยการสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินตนเอง สถิติที่ใช้ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ( ) และร้อยละ (Percentage) ผลการวิจัยพบว่า
- บริบทชุมชนในอำเภอพร้าวมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม ที่เสริมความเข้มแข็งของชุมชนเอื้อต่อการดำเนินโครงการดูแลผู้สูงอายุอำเภอพร้าวมีจำนวนผู้สูงอายุมากที่สุดของจังหวัด มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี ผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่าง 13 รายเป็นกลุ่มติดเตียง 4 ราย และ 9 รายเป็นกลุ่มติดบ้าน นักบริบาลชุมชนมีบทบาทช่วยดูแลผู้ป่วยทางด้านร่างกายจิตใจตามแผนการดูแลรายบุคคล ให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ช่วยประสานงานญาติ ผู้ป่วย หน่วยบริการสาธารณสุข
- ผลการประเมินการปฏิบัติงานจากผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม นักบริบาลชุมชน มีผลการประเมินในระดับที่ค่อนข้างสูงทุกคนทุกตำบล ทั้ง 6 ด้าน คือ ความรู้ ทักษะ การดูแลและการช่วยเหลือผู้ป่วย การสนับสนุนกิจกรรมที่หลากหลาย การประสานงานส่งต่อบริการ และความสุขอันเกิดจากความรักในงานที่ทำ ตรงกับปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย และมีการดูแลผู้ป่วยแบบสุขภาพองค์รวม ทั้งด้านกายภาพ สังคม อารมณ์ และสิ่งแวดล้อม
3. การปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจ ไม่พบปัญหาจากการปฏิบัติงาน แต่ต้องการช่วยเหลือเรื่อง ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพของผู้ป่วย อยากให้มีนักบริบาลชุมชนแบบนี้ต่อไป อยากให้มีนักบริบาลชุมชนชนเผ่าเพื่อสื่อสารกันเข้าใจมากขึ้น ปัญหาระบบการสนับสนุน การส่งต่อบริการ การเบิกจ่ายค่าตอบแทน มีความล่าช้า ไม่มีงบสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางเยี่ยมผู้ป่วย อุปกรณ์การแพทย์ที่สนับสนุนการทำงานไม่เพียงพอ ขาดการอบรมเสริมความรู้ทักษะให้กับนักบริบาลชุมชนต่อเนื่อง
References
กรมอนามัย. (2556). คู่มือแนวทางการฝึกอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุหลักสูตร 70 ชั่วโมง. นครปฐม: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูชัย ศุภวงศ์. (2553). แนวปฏิบัติในการบริการผู้สูงอายุ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
เทื้อน ทองแก้ว. (2550). สมรรถนะ: หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ:สำนักงานสถิติแห่งชาติ
เสรี พงค์พิศ. (2553). สุขภาพ 200 คำ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พลังปัญญา.
อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2547). แนวคิดเรื่องสมรรถนะ Competency: เรื่องเก่าที่เรายังหลงทาง.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย