การจัดการกองทุนหมู่บ้านทาสองท่าเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
กองทุนหมู่บ้าน, การจัดการ, เศรษฐกิจชุมชนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชนหมู่บ้านทาสองท่า การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและการทำงานของคณะกรรมการ การมีส่วนร่วมของสมาชิกเพื่อพัฒนาทุนทางสังคม 2) เพื่อศึกษาการจัดการกองทุนหมู่บ้านในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนสู่การพึ่งพาตนเอง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ สมาชิกกองทุนหมู่บ้านทาสองท่า จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาที่เชื่อมโยงกันและรายงานผลการวิจัยอย่างเป็นระบบ
ผลการวิจัยพบว่า
- ชุมชนหมู่บ้านทาสองท่ามีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านโดยคณะกรรมการกองทุนทำหน้าที่บริหารจัดการกองทุน คณะกรรมการและสมาชิกกองทุนร่วมกันเรียนรู้ต่อการพัฒนาทุนทางสังคมที่มีอยู่ในท้องถิ่น ทำให้กองทุนมีความเข้มแข็ง ส่งเสริมเงินออมของสมาชิก และนำเงินไปให้กับสมาชิกได้กู้ยืมและนำไปใช้เพื่อการพัฒนาอาชีพ สร้างงาน ให้สมาชิกของกองทุนมีเงินทุนหมุนเวียนเมื่อเกิดภาวะที่จำเป็น รวมถึงการส่งเสริมด้านการศึกษาให้กับบุตรหลานของสมาชิกกองทุน
- การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านทาสองท่าเป็นการสร้างเสริมเศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น แก้ไขปัญหาจากการกู้หนี้นอกระบบที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของสมาชิก ให้สมาชิกไม่เป็นหนี้นอกระบบต่อไปด้วยการปรับวิธีคิด รวมถึงจัดระเบียบชีวิตในรูปแบบใหม่เพื่อความสมดุล เกิดขวัญและกำลังใจ มีเงิน มีงาน มีความสุข ส่งผลให้เกิดการพึ่งพาตนเองตามหลักของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความอยู่รอด พอเพียง เกิดความสมดุลมั่นคงอย่างยั่งยืนของการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์
References
กาญจนา แก้วเทพ และ กนกศักดิ์ แก้วเทพ. (2530). การพึ่งตนเอง : ศักยภาพในการพัฒนาของชนบท. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการ สมาคมคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา.
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
ทานตะวัน อินทร์จันทร์. (2546). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนย่อยในเขต เทศบาลเมืองลำพูน. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณรงค์ วารีชล. (2551). การมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการพัฒนาเทศบาลสู่ “เมืองน่าอยู่” กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบางพระ อำเภอศรีราช จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ยุพิน ระพิพันธุ์. (2544). ความรู้ ทัศนคติและการจัดการที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการจำแนกประเภทมูลฝอยที่ใช้ในชีวิตประจำวันก่อนทิ้งในเขตเทศบาลเมืองพนัส อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
รพีภัทร์ สุขสมเกษม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนกรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสรี พงศ์พิศ. (2554 ). เศรษฐกิจพอเพียง เกิดได้ ถ้าใจปรารถนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.
เสรี พงศ์พิศ. (2551). กองทุนหมู่บ้านสวัสดิการชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (2547). พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. สืบค้น 30 ตุลาคม 2562, จาก http://www.villagefund.or.th/uploads/gallery/image_big_5a83c4a139ebc.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. สืบค้น 16 ตุลาคม 2563, จาก https://www.nesdc.go.th/download/article/article_20160323112431.pdf