ประสิทธิภาพของศูนย์ดำรงธรรมในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน : ศึกษาเฉพาะศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ศูนย์ดำรงธรรม ;, การร้องเรียนร้องทุกข์;, การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพของศูนย์ดำรงธรรมในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพประชาชน:ศึกษาเฉพาะศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ที่จัดตั้งตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 96/2557 ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานระดับจังหวัดและให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการในจังหวัดสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างเสมอภาคมีคุณภาพ รวดเร็ว ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และให้ประชาชนได้รับความพึงพอใจ
ผลการวิจัยพบว่าการจัดการเรื่องราวร้องเรียนร้องทุกข์ของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงใหม่ยังมีข้อจำกัดในอำนาจหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ของประชาชน เนื่องจากประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 96/2557 กำหนดให้ศูนย์ดำรงธรรมทำหน้าที่ในการรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์เท่านั้น ไม่ได้กำหนดให้มีอำนาจในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ แต่อย่างใด เช่น การตรวจสอบข้อเท็จจริง การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หรือมีอำนาจในการออกหมายเรียกพยานหลักฐานต่าง ๆ มาประกอบการพิจารณาเรื่องร้องเรียน และพบว่าการที่ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับดังกล่าวไม่ได้กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่และภารกิจที่รับผิดชอบให้ชัดเจน จึงทำให้การรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงใหม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์ที่มีอยู่เดิม ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมที่ต้องการให้ศูนย์ดำรงธรรมเป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ จึงได้เสนอแนวทางให้มีการแก้ไขบทบัญญัติกฎหมาย โดยเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของศูนย์ดำรงธรรมให้มีอำนาจ ตรวจสอบข้อเท็จจริง การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หรือมีอำนาจในการออกหมายเรียกพยานหลักฐานต่าง ๆ มาประกอบการพิจารณาเรื่องร้องเรียน และหากพิจารณาแล้วเห็นว่าเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ดังกล่าวกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานใดให้ส่งต่อไปยังหน่วยงานดังกล่าวดำเนินการต่อไป รวมทั้งให้มีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรม
References
กฎกระทรวงว่าด้วยการไกล่เกลี่ยความผิดที่มีโทษทางอาญา พ.ศ. 2553. (2553, 17 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 54 ก. หน้า 22–27.
กฎกระทรวงว่าด้วยการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่ง พ.ศ.2553. (2553, 7 กันยายน).ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 54 ก. หน้าที่ 13-21.
กองวิชาการและแผน. (2561). รายงานผลการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์ ร้องเรียนที่มีความยุ่งยาก และซับซ้อนของศูนย์ดำรงธรรม. สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://multi.dopa.go.th/tspd/official_letter/view427
นริสา วุฒิปัญญาเลิศ. (2545). กลไกการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในอาเซียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 96/2557 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรม. (2557, 23 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 131 ตอนพิเศษ 138 ง. หน้า 8-9.
พรประภัทร์ แพ่งพิบูลย์..(2553). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีผู้บริโภคในศาลชั้นต้นตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 : ศึกษาเฉพาะ: ศาลจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพายัพ).
พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562. (2562, 22 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 136 ตอนที่ 67 ก. หน้า 13-21.
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534. (2534, 4 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 108 ตอนที่ 156. หน้า 1-41.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 1-90.
ศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทย. (2561). ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรม. สืบค้น 10 มกราคม 2563, จาก http://www.damrongdhama.moi.go.th/download/load/w3755.pdf
สำนักตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2559). คู่มือการดำเนินการแก้ไขปัญหาการร้องทุกข์/ร้องเรียน ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย.กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.