ศึกษาแนวคิดทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก

ผู้แต่ง

  • พระมหาธนาศักดิ์ สุตธโน (สุดสุข) มมร

คำสำคัญ:

จริยศาสตร์, ทศชาติชาดก, คุณค่า

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทศชาติชาดก 2) เพื่อศึกษาแนวคิดทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์ประวัติ เนื้อหา คุณค่าแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณา

ผลการวิจัยพบว่า

1) ทศชาติชาดก เป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงอดีตชาติของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ ถือกำเนิดเป็นมนุษย์และเทวดา เพื่อทรงบำเพ็ญบารมี เพื่อเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้ได้บรรลุซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในพระชาติสุดท้าย เพื่อโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากกองกิเลสกองทุกข์ทั้งปวง

2) แนวคิดทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก ได้แก่ แนวคิดเรื่องความดี คือความประพฤติฝ่ายกุศลที่สามารถนำประโยชน์และความสุขมาให้แก่ผู้ปฏิบัติ แก่บุคคลอื่นและแก่สังคมส่วนรวมได้ แนวคิดเรื่องความชั่ว คือความประพฤติฝ่ายอกุศลที่สามารถนำความทุกข์และความเดือดร้อนมาให้แก่ผู้ปฏิบัติ แก่บุคคลอื่นและแก่สังคมส่วนรวมได้

3) คุณค่าทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก เป็นคุณค่าทางจิตใจ ต่อการดำเนินชีวิต ต่อสังคม ต่อการปฏิบัติธรรม เป็นคุณค่าที่สร้างประโยชน์เพื่อตนเอง อันได้แก่ประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์ในภพหน้า และประโยชน์อย่างสูงสุดคือพระนิพพาน ประโยชน์เพื่อผู้อื่น คือ สามารถสร้างความสุขให้แก่ผู้อื่นทั้งทางกายและทางจิตใจ และประโยชน์เพื่อส่วนรวมและสังคม คือ สามารถสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นแก่สังคมส่วนรวมได้

References

ทิพวรรณ ละลี. (2549). ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดด้านจริยศาสตร์ในทัศนะของคีร์เคกอร์ดและพุทธปรัชญาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์ปริญญษมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

พระมหาประเสริฐ ญาณสีโล (ธรรมจง). (2547). การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวความคิดเชิงจริยศาสตร์ในมงคลสูตร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย).

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2557). พระไตรปิฎกและอรรถกถา (พิมพ์ครั้งที่ 9). นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วศิน อินทสระ. (2555). พระพุทธบารมีในอดีต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ก้อนเมฆ.

สรรเสริญ อินทรัตน์. (2552). จริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

เผยแพร่แล้ว

2021-04-24