มาตรการทางกฎหมายในการรื้อฟื้นคดีอาญาสำหรับนักโทษประหารชีวิต

ผู้แต่ง

  • เชาวลิต สมพงษ์เจริญ Rajabhat Muban Chombeung University

คำสำคัญ:

การรื้อฟื้นคดีอาญา, นักโทษประหารชีวิต, พยานหลักฐานใหม่, ค่าทดแทน, เยียวยา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายต่างประเทศและประเทศไทยในการรื้อฟื้นคดีอาญาของนักโทษประหารชีวิต 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการรื้อฟื้นคดีอาญาของนักโทษประหารชีวิต และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการรื้อฟื้นคดีอาญาของนักโทษประหารชีวิต รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แนวคิด ทฤษฎี และมาตรการกฎหมายระหว่างประเทศเป็นกรอบการวิจัย กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ ได้แก่ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักกฎหมาย เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ พนักงานอัยการ และข้าราชการตุลาการ จำนวน 25 คน โดยใช้วิธีคัดเลือกจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) การสัมภาษณ์เชิงลึก 2) การศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

  1. การรื้อฟื้นคดีอาญาของประเทศไทยสำหรับนักโทษประหารชีวิตไม่สอดคล้องกับมาตรการระหว่างประเทศที่ป้องกันการดำเนินคดีอาญาที่ผิดพลาด
  2. กฎหมายต่างประเทศให้ความคุ้มครองสิทธิของนักโทษประหารชีวิตในการรื้อฟื้นคดีอาญาที่เจาะจง คำนิยามของพยานหลักฐานใหม่ที่ครอบคลุม มีการระงับโทษประหารชีวิตออกไปพลางก่อน ค่าทดแทน และการเยียวยาชื่อเสียงได้ดีกว่ากฎหมายของประเทศไทย
  3. ประเทศไทยต้องแก้ไขกฎหมายรื้อฟื้นคดีอาญาให้สิทธิแก่นักโทษประหารชีวิตที่เจาะจง เพิ่มเติมคำนิยาม การระงับโทษประหารชีวิต ค่าทดแทน และการเยียวยาชื่อเสียง จึงจะสอดคล้องกับมาตรการระหว่างประเทศที่ป้องกันการเนินคดีอาญาที่ผิดพลาด

ข้อค้นพบจากงานวิจัยสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในแก้ไขเพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 และสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการศึกษาการรื้อฟื้นคดีอาญาที่มีความเจาะจงต่อไป เช่น นักโทษจำคุก ผู้ต้องกักขัง เป็นต้น

References

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2548. (2548, 8 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 122 ตอนที่ 14ก. หน้า 30-33.

พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526. (2526, 7 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 100 ตอนที่ 55. หน้า 1.

Japanese Law Translation Database System. (2020a). Part IV Retrial Article 442. Retrieved 10 January 2020 from http://www.japaneselawtranslation.go.jp/law/detail/?printID=&id=1983&re=02&vm=04.

Japanese Law Translation Database System. (2020b). Part IV Retrial Article 438. Retrieved 10 January 2020, from http://www.japaneselawtranslation.go.jp/law/detail/?printID=&id=1983&re=02&vm=04.

Larson, A. (2019). What is Habeas Corpus.Retrieved 20 August 2019, from https://www.expertlaw.com/library/criminal/habeas_corpus.html

Legal Information Institute - Cornell University. (2019). BAZE et al. v. REES, COMMISSIONER, KENTUCKY DEPARTMENT OF CORRECTIONS, et al. Retrieved January 10, 2020, from https://www.law.cornell.edu/supct/html/07-5439.ZS.html

Lueotchanakun, W. (2007). Personal academic documents Justice Administration Program High level (10th generation), on the role of the prosecutor and the resurrection of the criminal case. Reconsider. Bangkok: College of Justice Office of Justice. (in Thai)

Niyomthai, A. (2017). The principle of resuming criminal cases under consideration Foreign Law. Cul niti, 14(4), 139-147.

The National Court Rules Committee. (2020). Rule 33. New Trial| Federal Rules of Criminal Procedure. Retrieved January 10, 2020, from https://www.federalrulesofcriminalprocedure.org/title-vii/rule-33-new-trial

The Working Group of the R.O.C Laws & Regulations Database, Ministry of Justice. (2019). Part VIII Execution. Retrieved August 20, 2019 from https://law.moj.gov.tw/Eng/LawClass/LawAll.aspx?PCode=C0010001.

US Supreme Court. (2019). Glossip v. Gross 576 US (2015). Retrieved August 20, 2019, from https://www.law.cornell.edu/uscode/text/42/1983

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-24