การศึกษาความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า สายปฏิบัติการ ของวิทยาลัยเทคนิคนครปฐม

ผู้แต่ง

  • สุวรรณ ม่วงนวล Nakhonpathom Techinical College

คำสำคัญ:

ความต้องการศึกษาต่อ, สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า, วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพข้อมูลทั่วไปของสถานประกอบการและนักศึกษาในจังหวัดนครปฐมและเขตใกล้เคียง และ 2) เพื่อศึกษาความต้องการของสถานประกอบการและนักศึกษา ในจังหวัดนครปฐมและเขตใกล้เคียง เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 12 แห่ง กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 48 คน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุ 30-39 ปีขึ้นไป มีตำแหน่งงานบุคลากร เป็นหน่วยงานเอกชน สนับสนุนให้เรียนสูงขึ้นในระดับปริญญาตรี มีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีไฟฟ้า ด้านเนื้อหาวิชาที่ต้องการเรียน ในภาพรวมมีในระดับมากที่สุด คือ เรื่องการวางแผนจัดการควบคุมงานไฟฟ้าตามมาตรฐานไฟฟ้าและมาตรฐานความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และรองลงมา คือ การให้คำแนะนำสอนงานในสถานประกอบการให้ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ผู้ตอบแบบสอบถามนักศึกษา ระดับ ปวส.ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคนครปฐม เพศชาย มีระดับผลการเรียน 2.6-3.0 ผู้ปกครองประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวมีการศึกษาระดับประถมศึกษา ครอบครัวมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 10,001-25,000 บาท มีสมาชิกในครอบครัว 3-4 คน ผู้ปกครองมีสถานภาพอยู่ร่วมกัน ภูมิลำเนาอาศัยอยู่ในจังหวัดนครปฐม นักศึกษาไม่ได้ทำงานหรือไม่มีรายได้พิเศษ ได้รับทราบข่าวสารข้อมูลการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีจากคู่มือการรับสมัครนักศึกษา และมีความต้องการที่จะศึกษาต่อปริญญาตรีของวิทยาลัยเทคนิคนครปฐม เนื้อหาวิชาที่ต้องการเรียน พบว่า มีความต้องการเนื้อหาวิชาในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดมี 2 ข้อ คือ เรื่องการวางแผนจัดการควบคุมงานไฟฟ้าตามมาตรฐานไฟฟ้าและมาตรฐานความปลอดภัย และเรื่องการกำหนดตารางทดสอบแก้ไขและซ่อมบำรุงงานไฟฟ้า รองลงมา คือ เรื่องการบริหารจัดการดำเนินการควบคุมงานในสถานประกอบการ

References

จุฑามาศ ชูจินดา กิติยานภาลัย ภู่ตระกูล และณภัทร โชคธนินกุล. (2558). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 ในเขตจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว, 9(2), 66-77.

จำนงค์ อดิวัฒน์สิทธิ์ และ สาคร ธระที. (2555). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). วิธีการสร้างสถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

มีสิทธิ์ ชัยมณี. (2559). ศึกษาเรื่องการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี. RMUTSB A cad. J (Humanities and Social Sciences), 1(1), 97-107.

สมยศ นาวีการ. (2549). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงธนพัฒนา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555–2559. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2553). รายงานผลการ ดำเนินงาน 6 เดือนแห่งการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอาชีวศึกษาทศวรรษที่สอง. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2555). แนวปฏิบัติเกี่ยวกับหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

อนันต์ เตียวต๋อย, สุรกิจ ปรางสร และ เมธังกร สุธีวร. (2558). ศึกษาแนวโน้มความต้องการศึกษาต่อสาขาวิชาใหม่ ระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-24