การลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกชุมชนด้วยศาสตร์พระราชา และหลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม
คำสำคัญ:
ความเหลื่อมล้ำ, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, ศาสตร์พระราชา, หลักทิฎฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และวิธีการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกชุมชนด้วยศาสตร์พระราชาและหลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ได้แก่ 1) นโยบายการพัฒนาที่ไม่สมดุลของภาครัฐ 2) การยกระดับการค้าระหว่างประเทศเนื่องจากการเปิดเสรีทางการค้า 3) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 4) โครงสร้างทางภาษีและสิทธิประโยชน์ทางภาษีกับกลุ่มคนที่มีรายได้สูง จากปัจจัยข้างต้นทำให้ประชาชนแต่ละกลุ่มมีรายได้ที่แตกต่างกันและยังส่งผลให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อยมีจำนวนเพิ่มขึ้น การศึกษาวิธีการพัฒนาคุณภาพชีวิต พบว่า การประยุกต์ใช้หลักศาสตร์พระราชาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและหลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกในชุมชุนและยังช่วยลดความเลื่อมล้ำได้ โดยหลักเศรษฐกิจพอเพียงสอนให้ใช้ชีวิตบนพื้นฐานหลักสัมมาอาชีวะกล่าวคือรู้จักความพอประมาณ ความพอเพียง รู้จักพึ่งตนเอง ไม่ประมาท และไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ส่วนหลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมสอนให้ใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิตโดยเริ่มจากการรู้จักประกอบสัมมาชีพ การรู้จักแบ่งเก็บแบ่งใช้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ การคบมิตรดีที่คอยแนะประโยชน์ให้ และการใช้ชีวิตให้เหมาะสมตามกำลังทรัพย์ของตน กล่าวโดยสรุป การยึดหลักธรรม 2 ประการนี้ จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และยังสามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
References
กิตติ ประพิตรไพศาล. (2550). การศึกษาคุณภาพชีวิตของกำลังพลนายทหารชั้นประทวน กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ จังหวัดปราจีนบุรี. ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
กุหลาบ รัตนสัจธรรม และคณะ. (2535). การพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในวิธีการดำเนินงานวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตตามเกณฑ์จำเป็นพื้นฐานในระดับหมู่บ้าน. กรุงเทพฯ: โครงการมหาวิทยาลัย โครงการน้ำพระทัยจากในหลวงเพื่อพัฒนาตะวันออกเฉียงเหนือ.
คณะกรรมการเฉลิมพระเกียรติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2560). ศาสตร์ของพระราชา: ผู้นำโลกในการพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สภานิติบัญญัติแห่งชาติ.
เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน, โกสินทร์ เตชะนิยม, วุฒิชัย อารักษ์โพชฌงค์, และ วรพล พินิจ. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการกระจายรายได้ของกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางและความเกี่ยวข้องของดัชนีธรรมาภิบาล: การสร้างแนวทางลดความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยตามหลักสากล. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ณัฐวัฒน์ ขันโท. (2557). คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่หน่วยบริการชุมชน คลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา. ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธันวา บัวมี. (2560). แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์).
นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2534). ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปกรณ์ ปรียากร. (2538). ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิช.
ปราชญา กล้าผจัญ. (2545). คุณภาพชีวิตของมนุษย์นักบริหารกับการออกกำลังกาย. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
พระครูโพธิธรรมานุกูล (บรรเทา ชุดจีน). (2554). ศึกษาแนวทางการนำหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์เพื่อแก้ปัญหาชีวิตของพุทธศาสนิกชนในสังคมไทยปัจจุบัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย).
พระไตรปิฎกออนไลน์ ปฏิปทาสูตรที่ 6. (2560). สืบค้น 8 กรกฎาคม 2564, จาก https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=6829&Z=6887.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2545). หลักแม่บทของการพัฒนาตน (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรมมิก.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). ธรรมนูญชีวิต พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม (พิมพ์ครั้งที่ 57). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2534). การพัฒนาชุมชน: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก.
ศิริ ฮามสุโพธิ์. (2543). ประชากรกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น. (2552). ความยากจนและความเหลื่อมล้ำของรายได้ในประเทศไทย. วารสารประชากรศาสตร์, 25(2), 71-89.
สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สมชัย จิตสุชน และ จิราภรณ์ แผลงประพันธ์. (2556) รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาประเด็นเชิงนโยบายความยากจนและการกระจายรายได้. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
สรัญญา แสงอัมพร. (2561). การใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถะเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนมะม่วงปลายแขน ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(2), 411-433.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). รายงานสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ในระดับภาคของประเทศไทย. สืบค้น 8 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=7787
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2546). ผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย ปี 2562. สืบค้น 8 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=10857&filename=social
สุเชาวน์ พลอยชุม. (2552). พุทธปรัชญาในพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก.
อภิชิต ดวงธิสาร, ธวัฒน์ เขตจัตุรัส, และ ดิเรก ถึงฝั่ง. (2563). ศาสตร์พระราชากับการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลสระพัง อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 12(2), 165-180.
อานนตรี ประสมสุข. (2561). การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักพระพุทธศาสนาของปราชญ์ชาวบ้าน ตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).