ศิลปะวัดพม่า: แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
การส่งเสริม, ศิลปะ, วัดพม่า, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากิจกรรมของวัดพม่าในจังหวัดลำปาง 2) ศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดพม่าในจังหวัดลำปาง 3) เสนอแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดพม่าในจังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ การศึกษาข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 20 คน
ผลการวิจัยพบว่า ศิลปกรรมและกิจกรรมของวัดพม่าตอบสนองนักท่องเที่ยวด้วยการสอดแทรกกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สร้างความเป็นสิริมงคล ซึ่งกิจกรรมได้สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น วัดพม่าตั้งอยู่ใกล้เคียงแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่บ่งบอกอัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์ และขนบธรรมเนียมท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
ศักยภาพการท่องเที่ยวของวัดพม่า ได้แก่ ความงามด้านศิลปะพม่าที่ทรงคุณค่าแบบพม่า 1) ด้านการบริหารจัดการ บริเวณที่สงบ ร่มเย็น บรรเทาความทุกข์ และทัศนียภาพที่งดงาม 2) สังคมและวัฒนธรรม การจัดกิจกรรมตามความเชื่อของท้องถิ่น 3) ด้านความรู้/ประสบการณ์ การสร้างประสบการณ์ที่ประทับใจ และปลูกจิตสำนึก 4) การมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อช่วยเหลือในการบริหารจัดการ 5) สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่มีความต้องการพิเศษ 6) ด้านความสามารถในการรองรับ พื้นที่รองรับที่เหมาะสมที่ตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยว 7) ด้านความปลอดภัย โดยวัดพม่าใกล้กับส่วนราชการ สร้างความเชื่อมั่นและปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว
แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดพม่าในจังหวัดลำปาง ได้แก่ 1) การพัฒนาทางด้านกายภาพวัดพม่า 2) การเปิดวัดพม่าเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว 3) กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ 4) การมีส่วนร่วมของชุมชน 5) การสนับสนุนจากเครือข่าย 6) การประชาสัมพันธ์ ปัจจัยดังกล่าว ช่วยกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้แก่วัดและชุมชนนั้น ๆ ได้อย่างแท้จริง
References
จริยาภรณ์ เจริญชีพ. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุร. วารสารสารสนเทศ, 16(2), 85-97.
ฐาปกรณ์ เครือระยา. (2558). วัดพม่า-ไทยใหญ่ในนครลำปาง. วารสารร่มพะยอม, 17(1), 24-39.
ธิติพงศ์ พิรุณ. (2553). ปราสาทพนมรุ้ง: แนวทางการอนุรักษ์พิธีกรรมทางศาสนาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.
บุณยสฤษฎ์ อเนกสุข. (2559). ยล เยี่ยม เยือน เหย้า: แนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พระครูศรีกิตยาธร, พระครูวิจิตรศีลาจา, พระครูวิจิตรรัตนวัตร, พระครูจิตตสุนทร, และ พระครูวิรัตธรรมโชติ. (2564). การประยุกต์ใช้หลักสัปปายะ 4 เพื่อเสริมสร้างการท่องเที่ยว เชิงพระพุทธศาสนาของวัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(2), 517-530.
พระสันต์ทัศน์ สินสมบัติ. (2564). บทวิจารณ์หนังสือ มีวัดเป็นรมณีย์ มีกุฏิเป็นที่สบาย. วารสารวิจยวิชาการ, 4(2), 297-302.
พระอธิการมงคล ชยธมฺโม (กุนทิ). (2564). การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
รจิต คงหาญ. (2562). การศึกษาองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 11(2), 122-134.
สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์, จีรศักดิ์ ปันลำ, และ อาภากร ปัญโญ. (2560). การพัฒนาศักยภาพทางการท่องเที่ยวของวัดและชุมชนในล้านนา (รายงานผลการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง. (2559). ตามรอยเส้นทางวัดพม่าในจังหวัดลำปาง. สืบค้น 4 กันยายน 2563, จาก https://www.m-culture.go.th/lampang/download/article/article