การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง และกลวิธีการกำกับตนเอง กับการพัฒนาทักษะการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • รงค์รบ น้อยสกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สุภาณี เส็งศรี มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • กอบสุข คงมนัส มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง, กลวิธีการกำกับตนเอง, ทักษะการสื่อสาร, นักศึกษาระดับปริญญาตรี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า ผ่านการวิจัยเอกสาร ในประเด็นการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ร่วมกับกลวิธีการกำกับตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ซึ่งจากผลการศึกษา ครูผู้สอนสามารถพัฒนาทักษะการสื่อสารของนักศึกษาระดับปริญญาตรีได้ โดยประยุกต์ใช้ทั้งสองทฤษฎีร่วมกัน ตามกระบวนการดังนี้ 1) ปฐมนิเทศนักศึกษา ผู้สอนแจ้งกติกา เครื่องมือต่าง ๆ รูปแบบการเรียน เมื่อเสร็จสิ้น ทดสอบก่อนเรียนและวัดการกำกับตนเอง 2) ผู้สอนให้โจทย์ที่ท้าทาย เพื่อให้นักศึกษาได้เผชิญกับสิ่งที่ไม่เป็นไปตามมุมมองเดิม เปิดโอกาสให้นักศึกษาค้นหาและนำเสนอคำตอบ ผู้สอนให้ Feedback พร้อมมอบแหล่งการเรียนรู้ 3) เมื่อเลิกเรียนและกลับบ้าน นักศึกษาต้องประเมินรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตน ตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ วางแผนการเรียนรู้และดำเนินการตามแผนนั้น ๆ โดยมุ่งค้นหาทางเลือกใหม่สำหรับคำตอบด้วยแหล่งการเรียนรู้ที่ผู้สอนมอบให้ หรือ แหล่งการเรียนรู้อื่น 4) นักศึกษาบันทึกพฤติกรรมของตน ตามแบบบันทึกการกำกับตนเองซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งกระดาษ หรือ เครื่องมือจดบันทึกออนไลน์ มีการประเมินรูปแบบการเรียนรู้ของตน ซึ่งสามารถปรับได้ เมื่อรู้สึกว่าไม่เหมาะสม นอกจากนี้ยังต้องมีการกำหนดกลไกการให้รางวัลเมื่อสามารถทำได้ตามแผน หรือลงโทษเมื่อไม่สามารถทำได้ตามแผน 5) เมื่อเข้าชั้นเรียน นักศึกษานำเสนอคำตอบที่เตรียมมา หากไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ผู้สอนสามารถให้ Feedback และแหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม โดยนักศึกษาต้องกลับไปเรียนรู้ด้วยตนเองตามแผนจากกลวิธีการกำกับตนเองอีกครั้ง แต่หากคำตอบเป็นไปตามเกณฑ์ ผู้สอนสามารถมอบโจทย์ใหม่ เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาความสามารถและความมั่นใจ จนกลายเป็นชุดความคิดใหม่ เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งความรู้ วิธีคิด และรูปแบบการดำเนินชีวิต 6) ทดสอบหลังเรียน และวัดการกำกับตนเองอีกครั้ง เพื่อเปรียบกับผลก่อนเรียน

References

กรธนา โพธิ์เต็ง และสุเทพ อ่วมเจริญ. (2560). การพัฒนาทักษะการสื่อสารและความสามารถในการทำโครงงานโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(2), 162-175.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2553). อุดมศึกษาเพื่อการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. ใน งานระพีเสวนา ครั้งที่ 5/7 (น. 89-110). มหาวิทยาลัยมหิดล.

ฉัตรพันธ์ ดุสิตกุล. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อการพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประวิตร จันทร์อับ. (2561). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และผลกระทบต่อนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดพิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร

ปราณี ศรีสวัสดิ์. (2549). การพัฒนาเครื่องมือวัดการปฏิบัติทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษ ระดับช่วงชั้นที่ 2 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ปัทมา สายสอาด. (2551). ทักษะการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรีเขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. คลังปัญญา มหาวิทยาลัยศิลปากร. http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/7679

พัชรี ศีรษะภูมิ. (2559). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านทักษะการคิดแก้ปัญหาโดยผสานแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิศิษฐ์ พลธนะ, นภดล เลือดนักรบ, และภราดร ยิ่งยวด. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์ของผู้นำนักศึกษา. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(ฉบับพิเศษ), 42-52.

ภาณุวัฒน์ กองราช และกมลวรรณ โอฬาพิริยกุล. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นใน ประเทศไทย : กรณีศึกษา Facebook [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Digital Research Information Center. https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/298198

รงค์รบ น้อยสกุล, ดิเรก ธีระภูธร, และปิยมนัส วรวิทย์รัตนกุล. (2562). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์สำหรับศูนย์การเรียนรู้การค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย สำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา. วารสารครุพิบูล, 7(1), 62-75.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธีสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิมลพรรณ อาภาเวท, สาวิตรี ชีวะสาธน์, และชาญ เดชอัศวนง. (2554). พฤติกรรมการสื่อสารในเฟซบุ๊ค (Facebook) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลราชมงคลพระนคร.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2559). การวัดและประเมินผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 7). โรงพิมพ์อักษรศิลป์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การเสริมสร้าง "ทักษะชีวิต" ตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพนักศึกษาระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุดเฉลิม ศัสตราพฤกษ์ และไพศาล บรรจุสุวรรณ์. (2558). ธรรมาภิบาลเพื่อการจัดการและการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 3(3), 271-283.

เสถียร พูลผล, ขนิษฐา สาลีหมัด, เฉลิมศรี ภุมมางกูร, และจิตรา ดุษฎีเมธา. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารทางวิชาชีพเภสัชกรรมสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ตามทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. วารสาร Veridian E Journal ฯ สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 2450-2467.

หฤทัย อนุสสรราชกิจ. (2556) กระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงตนเองสำหรับการพัฒนาครูปฐมวัย. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 9(1), 123-128.

อานวัฒน์ บุตรจันทร์ และใจทิพย์ ณ สงขลา. (2552). ผลของการสอนเสริมด้วยพอดคาสต์โดยใช้กลวิธีในการกำกับตนเองในรายวิชาการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการกำกับตนเองของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Digital Research Information Center. https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/235315

Bandura, A. (1986). Social foundations thought and action: A social cognitive theory. New Jersey: Prentice-Hall.

Butler, D. L., & Winne, P. H. (1995). Feedback and Self-Regulated Learning: A Theoretical Synthesis. Review of Educational Research, 65(3), 245-281.

Hosogi, M., Okada, A., Fujii, C., Noguchi, K., & Watanabe, K. (2012). Importance and Usefulness of Evaluating Self-Esteem in Children. BioPsychoSocial Medicine, 6(9), 1-6.

Kuhl, J., & Kraska, K. (1994). Selbstregulations- und Konzentrationstest für Kinder SRKT-K. Hogrefe, Verlag für Psychologie.

Ley, K., & Young, D. B. (2001). Instructional Pinciples for self-Regulation. Educational Technology Research and Develoment, 49(2), 96-103.

Lindner, R. W., & Harris, B. (1993). Self-Regulated Learning: Its Assessment and Instructional Implications. Educational Research Quarterly, 16(2), 29-37.

Mezirow, J. (2000). Learning as Transformation: Critical Perspectives on a Theory in Progress. Jossey Bass.

Purdie, N., Hattie, J., & Douglas, G. (1996). Student conceptions of learning and their use of self-regulated learning strategies: A cross-cultural comparison. Journal of Educational Psychology, 88(1), 87–100.

Winne, P. H. (1997). Experimenting to Bootstrap Self-Regulated Learning. Journal of Educational Psychology, 89(3), 397–410.

Zimmerman, B. J., & Martinez-Pons, M. (1986). Development of a Structured Interview for Assessing Student Use of Self-Regulated Learning Strategies. American Educational Research Journal, 23(4), 614-628.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01