รูปแบบองค์กรแห่งความสุขตามหลักสาราณียธรรมของวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน

ผู้แต่ง

  • พระธวัชชัย ชยวุฑฺโฒ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • เทพประวิณ จันทร์แรง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

รูปแบบ, ความสุข, องค์กร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสุขในทัศนะพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) ศึกษาหลักการและกระบวนการสร้างองค์กรแห่งความสุข 3) นำเสนอรูปแบบองค์กรแห่งความสุขตามหลักสาราณียธรรมของวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน  

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสุขในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นสภาวะแห่งความสบายทางกายและทางใจ สภาวะที่ปราศจากความทุกข์ มีความพึงพอใจ ความสำราญ และความเบิกบาน สรุปได้เป็น 2 ประเภทคือ (1) สามิสสุข คือ ความสุขจากวัตถุสิ่งเสพบริโภค (2) นิรามิสสุข คือ ความสุขที่ไม่ขึ้นต่อวัตถุสิ่งเสพบริโภค 2) หลักการและกระบวนการสร้างองค์กรแห่งความสุข มีดังนี้ (1) ค้นหาองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างองค์กรแห่งความสุขโดยให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล (2) ประมวลองค์ความรู้ โดยผู้ประสานงานการจัดการความรู้เรียบเรียงองค์ความรู้ให้ง่ายต่อการเรียนรู้และการปฏิบัติ (3) ผู้บริหารประกาศเป็นนโยบายแต่งตั้งคณะทำงาน (4) สนับสนุนการอบรม สร้างองค์ความรู้ ด้วยการจัดงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ (5) ประเมินผล โดยการใช้ดัชนีตัวชี้วัดองค์กรแห่งความสุข 3) รูปแบบองค์กรแห่งความสุขตามหลักสาราณียธรรมของวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มีดังนี้ (1) การสร้างทีมงาน (2) การเยี่ยมบ้าน (3) คลังแห่งความสุข เกิดรูปแบบองค์กรแห่งความสุข คือ (1) ด้านเมตตากายกรรม ยึดหลักของความมีเมตตาทางกาย การมีสุขภาพกายที่ดี (2) ด้านเมตตาวจีกรรม การเคารพนับถือยกย่องซึ่งกันและกัน (3) ด้านเมตตามโนกรรม สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นองค์กรที่มีรอยยิ้ม (4) ด้านสาธารณโภคี การมอบของขวัญช่วยเหลือบุคลากร (5) ด้านสีลสามัญญตา มีศีลธรรมประจำใจ ยึดมั่นในกฎหมาย (6) ด้านทิฏฐิสามัญญตา ให้คำปรึกษาหารือ ช่วยเหลือกันเวลาเดือดร้อน

References

กรรมะ อุระ และคณะ. (2550). ภูฐาน ต้นธาร "ความสุขมวลรวมประชาชาติ" 2 คิดใหม่เกี่ยวกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2555). ทิศทางเป้าหมายและยุทธศาสตร์ระยะ 10 ปี พ.ศ. 2555-2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

ชาญวิทย์ วสันตธนารัตน์. (2551). องค์กรแห่งความสุขด้วยความสุข 8 ประการ. หมอชาวบ้าน, 30(349), 19-25.

นิกร ศิริกุล. (2550). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องความสุขของมนุษย์ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย).

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2547). ธรรมนูญชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 30). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.

พระมหาไกรสร โชติปญฺโญ. (2560). การจัดการความรู้. ลำพูน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน.

พระศุภชัย คุตฺตสีโล (ฝั้นยะ). (2560). การพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สิน สื่อสวน. (2559). องค์ความรู้ชุดเครื่องมือส่งเสริมคุณธรรมธรรมนูญความสุขชุมชน. กรุงเทพฯ: ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยมหิดล.

Rhys Davids, T.W., & Stede, W. (1977). The Pali-English Dictionary. Delhi: Motilal Banarsidass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30