แนวทางการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาโดยชุมชนของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

ผู้แต่ง

  • ณัฐมน จิตตะยโศธร หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • ธีระภัทร ประสมสุข สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • ปรีชาชาญ อินทรชิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การจัดการศึกษาโดยชุมชน, ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาโดยชุมชนของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน และ 2) ศึกษาแนวทางมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาโดยชุมชนของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดน่าน ประชากรได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 165 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาโดยชุมชนของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน

ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมจัดการศึกษาโดยชุมชนของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน gif.latex?\mu=4.18, gif.latex?\sigma=0.64 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการเรียนรู้ที่บ้าน gif.latex?\mu= 4.23, gif.latex?\sigma=0.63 ด้านการตัดสินใจ gif.latex?\mu=4.22, gif.latex?\sigma=0.64 ด้านการอบรมเลี้ยงดู gif.latex?\mu=4.17, gif.latex?\sigma=0.64 ด้านการให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัวและชุมชน gif.latex?\mu=4.14, gif.latex?\sigma=0.65  และด้านการติดต่อสื่อสาร gif.latex?\mu=4.12, gif.latex?\sigma=0.65  แนวทางการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาโดยชุมชนของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน คือ ด้านการอบรมเลี้ยงดู ผู้บริหาร ครูควรดำเนินการวางแผนจัดทำโครงการเพื่อจัดหาทุนสนับสนุนการจัดสภาพบ้านให้เอื้อต่อการเรียนรู้มีมุมบ้านให้เป็นมุมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่เด็กพิการที่บ้าน ด้านการติดต่อสื่อสาร ควรมีส่วนร่วมในการประชุมออนไลน์ ด้านการเรียนรู้ที่บ้าน ควรจัดทำโครงการเพื่อให้ความรู้กับผู้ปกครองในเรื่องการเรียนรู้ที่บ้าน ด้านการตัดสินใจ ควรมีการปรับเปลี่ยนตัวแทนผู้ปกครองในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในรูปแบบที่หลากหลาย ด้านการให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัวและชุมชน ผู้บริหารครู นักสหวิชาชีพ ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนจัดอบรมโครงการผลิตสื่อให้ความรู้ด้านการใช้สื่อพัฒนาเด็กที่บ้าน

References

ฉลอง คงเจริญ. (2554). ศึกษาคุณลักษณะและแสดงความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ธรรมรัตน์ พงษ์ทอง. (2559). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนในเขตอำเภอแก่หางแมว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จันทบุรีเขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

นวียา วาจาสัตย์. (2556). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตเทศบาลเมืองวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

พิศมัย ปั้นน้อย. (2550). ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาการเรียนการสอนของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบ้านบางพระ (ฉิ่งนาวิกอนุสรณ์) ศรีราชา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

มณีรัตน์ วงค์หงส์. (2554). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนอนุบาลระยองสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2563). จิตวิทยาการปรับตัว. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์. (2560). บกพร่องแต่ต้องไม่เป็นภาระปูทางสู่ความยั่งยืน. สืบค้น 14 มกราคม 2564, จาก http://www.cp-enews.com/news/details/cpcsr/1265

สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ. (2552). รายงานปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กประถมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2560. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://cgtoolbook.com/books003/32

สุวิมล หงส์วิไล. (2559). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลสระบัว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดน่าน. (2563). รายงานการปฏิบัติงานและผลการประเมินตนเองประจำปีการศึกษา 2563. น่าน: กลุ่มบริหารแผนและงบประมาณ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน.

ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบ ผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับนักเรียนปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31