การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายที่ 4 เขานางนอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2

ผู้แต่ง

  • รุ่งทิพย์ ศรีหรัญ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษ ามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ชูศักดิ์ เอกเพชร สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • นัฎจรี เจริญสุข สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การนิเทศภายใน, ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, การพัฒนารูปแบบ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการนิเทศภายในด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบ และ 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ การวิจัยมี 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการนิเทศภายใน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 185 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตาราง Krejcie & Morgan เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ตรวจสอบรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ ใช้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดิม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบตรวจสอบรูปแบบ สถิติใช้เช่นเดียวกับขั้นตอนที่ 1

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพการนิเทศภายในด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า โดยรวมและรายด้าน มีปัญหาอยู่ในระดับมาก ในด้านของการวางแผนการนิเทศ การดำเนินการ/ปฏิบัติการนิเทศและการประเมินผล/รายงานผลการนิเทศและปรับปรุง
  2. รูปแบบการนิเทศภายในด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการนิเทศภายในด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 5 ขั้นตอนและ 6 องค์ประกอบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยกระบวนการ 5 ขั้นตอนมีดังนี้  (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน/ปัญหา/ความต้องการ (2) ให้ความรู้/ให้คำปรึกษาแนะนำ Z3) วางแผน (4) ดำเนินการ และ (5) ประเมินผล/ร่วมสะท้อนผลและนำไปปรับปรุง ส่วน 6 องค์ประกอบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีดังนี้ (1) การทำงานเป็นทีม (2) วิสัยทัศน์และค่านิยมร่วมกัน (3) แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ (4) ภาวะผู้นำร่วม (5) ชุมชนกัลยาณมิตร และ (6) วัฒนธรรมองค์กร 4) เงื่อนไขความสำเร็จ
  3. ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบพบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ในระดับมาก

References

กัสมัสห์ อาแด. (2561). การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบร่วมมือร่วมพลังในโรงเรียนประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

นิชาภัทร วิลเลี่ยมส์. (2559). การพัฒนาการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคระกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

วิชนีย์ ทศศะ (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

สุรีย์มาศ สุขกสิ และ พัชรินทร์ รุจิรานุกูล. (2560). รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา. จันทบุรี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

สมชัย จรรยาไพบูลย์. (2555). รูปแบบการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช 2. (2561). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2559 – 2562 (ฉบับปรับปรุง). นครศรีธรรมราช: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช 2

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศบูรณาการโดยใช้พื้นฐานที่เป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่การนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สภาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2556). โครงการวิจัย เรื่องการกำหนดแนวทางพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21 (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

เอกพงศ์ สุวรรณมณี. (2558). การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31