แนวทางการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาโดยชุมชนของศูนย์การส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลอง จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • จิรพันธ์ จันหนิ้ว คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • ธีระภัทร ประสมสุข คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • สุรัตน์ ศรีดาเดช คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • ประกอบ สาระวรรณ คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การจัดการศึกษา, การศึกษานอกระบบ, การศึกษาตามอัธยาศัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาโดยชุมชน 2) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของศูนย์การส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลอง จังหวัดแพร่ ประชากรที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนในอำเภอลอง จังหวัดแพร่ ผู้ประกอบอาชีพการเกษตร ผู้ประกอบอาชีพรับจ้าง ผู้ประกอบอาชีพรับราชการ ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว จำนวน 397 คน เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของศูนย์การส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลอง จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ/คุณภาพ

ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาโดยชุมชนของศูนย์การส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลอง จังหวัดแพร่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการศึกษาต่อเนื่อง รองลงมา คือ ด้านการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและด้านการศึกษาตามอัธยาศัย

แนวทางการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาโดยชุมชนของศูนย์การส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ด้านการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ควรสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการระบุวิธีพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ตามเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียน ด้านการศึกษาต่อเนื่อง คือ  ควรสนับสนุนการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการนำเสนอผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่องไปพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพสูงขึ้น ด้านการศึกษาตามอัธยาศัย คือ ควรสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในการระบุเป้าหมายคุณภาพผู้รับบริการการศึกษาตามอัธยาศัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สืบค้น 25 ธันวาคม 2565, จาก https://www.moe.go.th/backend/wp-content/uploads/2020/10/1.-พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ-พ.ศ.2542-ฉ.อัพเดท.pdf

นันทนา แสนจําลาห์. (2553). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบานบึง "มนูญวิทยาคาร" สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศูนย์การส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลอง. (2563). ข้อมูลทั่วไปศูนย์การส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลอง. สืบค้น 25 ธันวาคม 2563, จาก http://www.longnfe.go.th

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล, ศิริเดช สุชีวะ, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, ธีรศักดิ์ ศรีสุรกุล, ธีรศักดิ์ ศรีสุรกุล, และ ลิขสิทธิ์ พุฒเขียว. (2557). การประเมินผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยของสำนักงาน กศน. ตามแนวพระราชบัญญัติส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551. วารสารครุศาสตร์, 42(3), 74-92.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

หฤษนันทน์ จันทะโข. (2552). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาตำบลหัวปลวก อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

อทิตยา ขาวคม. (2557). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองโรงเรียนสิงห์สมุทร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

อำไพ แสงจำรัส. (2555). ศึกษาความต้องการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (สถาวร). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30