วิเคราะห์ประเพณีสรงน้ำพระธาตุ : ศึกษาเฉพาะกรณีเตียวขึ้นดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ประเพณี, สรงน้ำพระธาตุ, ดอยสุเทพบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประวัติความเป็นมา วิเคราะห์คุณค่า และเสนอแนวทางการส่งเสริมประเพณีเดินขึ้นดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเฉพาะในเขตพื้นที่ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 10 รูป/คน คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงด้วยคุณสมบัติความรู้ความสามารถด้านประเพณีและวัฒนธรรมล้านนา ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ปฐมภูมิและทุติยูมิ และวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับเนื้อหาที่ทำการศึกษาในลักษณะการเขียนเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประวัติและความเป็นมาของประเพณีเดินขึ้นดอยสุเทพ จัดขึ้นทุกปี ในคืนก่อนวันวิสาขบูชา ที่ถูกปฏิบัติสืบทอดสืบต่อกันมานับตั้งแต่สมัยพระยากือนา ได้สร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นจนได้ดอยสุเทพเป็นที่บรรจุพระธาตุเจดีย์นับจากนั้นมาจึงเกิดประเพณีสรงน้ำพระธาตุดอยสุเทพขึ้นพร้อมกับการเดินขึ้นดอย 2) คุณค่าด้านศาสนบุคคล ทำให้ประชาชนและพระสงฆ์เกิดความสามัคคี ระลึกและตระหนักถึงบุญกุศลของบรรพบุรุษ คุณค่าด้านศาสนสถาน ทำให้สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ได้รับการดูแลรักษา เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน คุณค่าด้านศาสนพิธี ช่วยให้จิตใจของผู้เข้าร่วมมีความสงบ และมีพิธีอันเชิญน้ำสรงพระราชทาน ทำให้เกิดคุณค่าแก่การสืบสานภูมิปัญญาของล้านนา 3) แนวทางการส่งเสริมประเพณีเดินขึ้นดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ควรปลูกฝังให้คนเดินขึ้นดอยได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของดอยสุเทพ ควรมีการแต่งกายแบบพื้นถิ่น มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อกิจกรรม ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ความสำคัญของดอยสุเทพ พัฒนารูปแบบของประเพณีให้เข้ากับยุคสมัย มีการประกอบพิธีแต่พอดีพองาม ควรมีการเก็บรักษารูปแบบของการเดิน โรงทาน การรณรงค์ การรักษาสิ่งแวดล้อม
References
นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล, วิชุดา กิจธรธรรม, ฐาศุกร์ จันประเสริฐ และ นริสรา พึ่งโพธิ์สภ. (2557). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรม ตามค่านิยมและวัฒนธรรมไทยอย่างยั่งยืนด้วยการสังเคราะห์งานวิจัย. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พระไพฑูรย์ อารัมภรัตน์. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อกิจกรรมทางพุทธศาสนา กรณีศึกษาเขตทวีวัฒนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ VeridianE-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์, 6(1), 457-478.
วรรณฤดี แก้วมีศรี และ มนัส ใจมะสิทธิ์. (2561). ประเพณีสรงน้ำพระธาตุขิงแกงประจำปี 2561. สืบค้น 15 มีนาคม 2565, จาก http://www.clm.up.ac.th/project/local_database/uploadpdf/99.pdf
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2565). ศาสนาและความเชื่อของชาวล้านนา. สืบค้น 22 ธันวาคม 2565, จาก https://art-culture.cmu.ac.th/Lanna/articleDetail/857