กิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ผ่านการจัดการศึกษาบนฐานทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในพื้นที่จังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • วาทิยา ศรีวิรัตน์ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อัจฉรา ศรีพันธ์ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้, สิทธิมนุษยชน, การศึกษาบนฐานทักษะชีวิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดพิจิตร 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ผ่านการจัดการศึกษาบนฐานทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในพื้นที่จังหวัดพิจิตร ผู้ให้ข้อมูล คือ กลุ่มนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสากเหล็กวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 92 คน กลุ่มครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร จำนวน 6 คน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านวิธีการเก็บข้อมูล ร่วมกับการตรวจสอบสามเส้าโดยการทบทวนข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดพิจิตร พบว่า ครูผู้สอนไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนมากนัก รวมถึงนักเรียนไม่สามารถนำความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ การสอนเน้นการบรรยายเนื้อหาเกี่ยวกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบการใช้ใบงานและสื่อเทคโนโลยีพื้นฐาน มีการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการทำแบบทดสอบ อีกทั้ง สภาพแวดล้อมและบรรยากาศไม่เอื้อต่อการเรียนรู้
  2. ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนผ่านการจัดการศึกษาบนฐานทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในพื้นที่จังหวัดพิจิตร พบว่า ครูผู้สอนให้ความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนและเนื้อหาในกิจกรรมการเรียนรู้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน สื่อการเรียนรู้หลากหลายน่าสนใจ รวมทั้งนักเรียนมีความสุขและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ให้ความสนใจในเรื่องสิทธิมนุษยชนว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อตนเองและสังคม

References

กระทรวงการต่างประเทศ. (2551). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. กระทรวงการต่างประเทศ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กระทรวงศึกษาธิการ.

ภาวัต ผ่องใส. (2560). หลักสิทธิมนุษยชนภายใต้อุดมการณ์ของรัฐไทย : กรณีศึกษาแบบเรียนวิชาหน้าที่พลเมืองระดับมัธยมศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 และ 2551 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). การคัดเลือกและแยกกลุ่มนักเรียนสัมพันธ์กับผลการเรียนรู้อย่างไร. https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2016-4

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2563). คู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

องค์การนิรโทษกรรมสากล ประเทศไทย. (2563ก). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล. https://www.amnesty.or.th/our-work/hre/udhr

องค์การนิรโทษกรรมสากล ประเทศไทย. (2563ข). สิทธิมนุษยชนศึกษา. แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล. https://www.amnesty.or.th/our-work/hre

อัจฉรา ศรีพันธ์. (2561). การจัดการศึกษาบนฐานชีวิตและการจัดการศึกษาบนฐานชุมชน. แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01