การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวิปัสสนากรรมฐานเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะและลดความซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่อยู่เพียงลำพังในเขตท่องเที่ยวเมืองรองภาคเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • พระมหาวีรศักดิ์ สุรเมธี สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พระพิทักษ์ ฐานิสฺสโร สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • วราภรณ์ ชนะจันทร์ตา สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • ทองสาย ศักดิ์วีระกุล สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • อัครชัย ชัยแสวง สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงศาสนา, วิปัสสนากรรมฐาน, สุขภาวะ, ความซึมเศร้า

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาศักยภาพและการบริหารจัดการของวัดแบบครบวงจร 2) พัฒนาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบมีส่วนร่วม 3) พัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวิปัสสนากรรมฐานเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะและลดความซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่อยู่เพียงลำพัง รูปแบบเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มหัวหน้าโครงการย่อยและคณะทำงาน จำนวน 25 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ นำมาวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว ควรเน้นพัฒนาสิ่งดึงดูดใจและสภาพแวดล้อมให้มีเอกลักษณ์และทรงคุณค่าทางจิตใจ ให้การบริการสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานให้เหมาะสมและเพียงพอ ขับเคลื่อนระบบบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรม สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายชุมชนเพื่อให้การบริการที่พักแก่นักท่องเที่ยว ส่วนการพัฒนาการบริหารจัดการท่องเที่ยว ควรกำหนดแผนงานและจัดระบบโครงสร้างการบริหารจัดการให้ชัดเจน พัฒนาระบบการประสานงานและการประชาสัมพันธ์ มุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะการบริการและการสื่อสารที่ดี
  2. การพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนสำหรับผู้สูงอายุ ควรกำหนดเป้าหมายแผนการดำเนินงาน โดยบูรณาการการดำเนินงานทั้ง 3 มิติ คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เข้าด้วยกันบนฐานการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวิปัสสนากรรมฐานสำหรับผู้สูงอายุ บูรณาการความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานทางการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ไว้บริการนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุภายในชุมชน เพื่อทำให้การเดินทางท่องเที่ยวเป็นไปได้ด้วยความสะดวกสบาย
  3. รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวิปัสสนากรรมฐานบนเส้นทางแสวงบุญโดยบูรณาการกับหลักพุทธธรรมบำบัด ใช้ชื่อว่า “MFCAP Model” มีองค์ประกอบหลักที่สำคัญคือ 1) M= Material (วัตถุธรรม) 2) F= Faith (ศรัทธาธรรม) 3) C= Custom and Arts and Culture (ประเพณีและศิลปวัฒนธรรม) 4) A= Activities and Meditation (กิจกรรมและการปฏิบัติธรรม) และ 5) P= Pilgrimage (จาริกบุญจาริกธรรม)

References

จิตติยา สมบัติบูรณ์, นุชนาถ ประกาศ, และบุศริน เอี่ยวสีหยก. (2562). ความสุขผู้สูงอายุไทยในยุคThailand 4.0. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, 30(2), 219-227.

เทพฤทธิ์ วงศ์ภูมิ, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง, และอุมาพร อุดมทรัพยากุล. (2554). ความชุกของโรคซึมเศร้าในประชากรสูงอายุจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประประเทศไทย, 56(2), 103-116.

ปริญญา นาคปฐม และระชานนท์ ทวีผล. (2561). การพัฒนาคุณภาพงานบริการทางการท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 255-269.

ปวีณา งามประภาสม. (2560). การศึกษาศักยภาพและการเตรียมความพร้อมในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนสำหรับผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษาชุมชนท่องเที่ยวบ้านเมาะหลวง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 177-189.

รุ่งฤดี แย้มจรัส. (2563). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในเขตอุทยานแห่งชาติจังหวัดระนอง. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(1), 179-187.

ศิรินันทน์ พงษ์นิรันดร์, โอชัญญา บัวธรรม, และชัชชญา ยอดสุวรรณ. (2559). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(1), 234-259.

ศิวนิต อรรถวุฒิกุล, นรินทร์ สังข์รักษา, และสมชาย ลักขณานุรักษ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการการ ท่องเที่ยวเชิงศาสนาของจังหวัดราชบุรี. วารสาร Veridian E Journal ฯ สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 2392-2407.

สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการจัดการและส่งเสริมการท่องเที่ยว. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

Getzels, J.W. & Guba, E.G. (1957). Social behavior and administrative process. American Journal of Education, 65(4), 423–441.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01