การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดลำพูน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • ธาชินี สายวิวัฒน์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • สังวาร วังแจ่ม สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • จันทร์ฉาย ยมสูงเนิน สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การดำเนินงาน, การประกันคุณภาพภายใน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงาน ปัญหาและแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดลำพูน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นงานวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นักวิชาการศึกษา หัวหน้าศูนย์ ครู และผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรายด้านตามลำดับ ดังนี้ ด้านการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษา ด้านการจัดทำรายงานประจำปี ด้านการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ด้านการประเมินคุณภาพภายใน ด้านการจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ด้านการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ และด้านการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
  2. ปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน พบว่า ครูและผู้ดูแลเด็กขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องระเบียบ หนังสือสั่งการ และรูปแบบในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและการดำเนินงานตามกระบวนการประกันคุณภาพภายใน ขาดความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ และการจัดการระบบสารสนเทศที่ดี การจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ ขาดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่การดำเนินงานให้กับชุมชนหรือผู้รับบริการ ขาดการส่งเสริม สนับสนุน การจัดสื่อและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย และขาดการนำผลการประเมินคุณภาพภายในมาปรับปรุง พัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาในปีต่อไป
  3. แนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้ การจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา จัดอบรมและฝึกปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อช่วยในการเก็บข้อมูล ทำความเข้าใจกับบุคลากรในการดำเนินงานให้ตรงกับมาตรฐานและตัวชี้วัด สนับสนุนงบประมาณ ทรัพยากร และวิเคราะห์ผลในการจัดทำและพัฒนาคู่มือการดำเนินงานตามกระบวนการประกันคุณภาพภายใน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564).กระทรวงฯ.

ชุติการญจน์ ทองธรรม. (2560). การศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมการดำเนินงานการประเมินคุณภาพภายในของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุโขทัย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.

นิรชา ชัยศิริรัตนดำรง. (2554). การศึกษาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนครพนม.

พจรัตน์ คูณทวีลาภผล. (2560). ปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

วาลิช ลีทา. (2560). สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ, 17(1), 97-103.

ศศิวิมล คำลือ. (2558). การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สุปราณี พรหมดีสาร และกานต์ เนตรกลาง. (2559). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

องค์การ วงค์เรือง. (2553). สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01