การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร: CLT สอดคล้องกับกรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป: CEFR

ผู้แต่ง

  • พูลสุข กรรณาริก สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • ณรงศักดิ์ ลุนสำโรง สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • นพรัตน์ กันทะพิกุล สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • อาทิตย์ อินทร์ติ๊บ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ, การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร, กรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching: CLT) ที่สอดคล้องกับกรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป (Common European Framework of Reference for Languages: CEFR) เนื่องด้วยกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้กำหนดนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยใช้กรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล เป็นกรอบความคิดหลักในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย และให้ปรับจุดเน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มุ่งเน้นการสื่อสารให้เป็นไปตามธรรมชาติของการเรียนรู้ โดยปรับการเรียนการสอนจากการเน้นไวยากรณ์มาเป็นเน้นการสื่อสารที่เริ่มจาก การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนตามลำดับ

สถาบันการศึกษาไทยได้มีความพยายามที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของผู้เรียนทุกระดับการศึกษา แต่ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของผู้เรียนก็ยังไม่เกิดผลสัมฤทธิ์เท่าที่ควร ทั้งนี้เป็นเพราะการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยตั้งแต่สถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปจนถึงอุดมศึกษา เป็นการสอนแบบยึดหลักไวยากรณ์ การแปล และท่องจำมากกว่าสื่อสารได้ในชีวิตจริง ระบบการวัดผลทักษะภาษาอังกฤษเน้นการใช้ภาษาอังกฤษตามหลักไวยากรณ์ การอ่าน ซึ่งไม่ได้ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่จะใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

ดังนั้นแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ที่สอดคล้องกับกรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป จะเป็นประโยชน์สำหรับสถาบันการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา ในการปรับปรุงพัฒนาระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อเพิ่มคุณภาพของผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร การศึกษาค้นคว้าความรู้ที่เป็นสากล พร้อมที่จะเป็นพลเมืองโลกในศตวรรษที่ 21

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. จามจุรีโปรดักส์.

คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่อง นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา. คณะกรรมการ.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2559). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558. http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM6_2558.pdf

สถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล. องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

องอาจ นามวงศ์. (2554). Active 3Ps: บทบาทการจัดการเรียนรู้ที่ครูควรเปลี่ยน. วารสารศึกษาศาสตรมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 34(3-4), 1-9.

British Council. (2020). 4 Obstacles in teaching english in Thailand “teaching until the exam”. https://www.britishcouncil.or.th/about/press

Brown, H. D. (2007). Teaching by principles: an interactive approach to language pedagogy (3rd ed.). Pearson Education.

Celce-Murcia, M., Dörnyei, Z., & Thurrell, S. (1997). Direct approaches in L2 instruction: a turning point in communicative language teaching?. TESOL Quarterly, 31(1), 141-152.

Council of Europe. (2001). Common European Framework of Reference for Languages: learning, teaching, and assessment. Cambridge University Press.

Council of Europe. (2018). Common European Framework of Reference for Languages: learning, teaching, assessment-companion volume with new descriptors. Council of Europe

EF English Proficiency Index. (2019). The World’s largest ranking of countries and regions by english skills. https://www.ef.com/assetscdn/WIBIwq6RdJvcD9bc8RMd/cefcom-epi-site/reports/2019/ef-epi-2019-english.pdf

Larsen-Freeman, D. (2008). Techniques and principles in language teaching (2nd ed.). Oxford University Press.

Laumbourdi, L. (2018). Communicative language teaching. Wiley online library. https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1002/9781118784235.eelt0167

Mugableh, A. I., & Khreisat, M. N. (2019). Employing TBL and 3PS learning approaches to improve writing skill among Saudi EFL students in Jouf University. International Journal of Linguistics, Literature and Translation (IJLLT), 2(1), 189-218.

Richards, J. C., & Rodgers, T. S. (2003). Communicative language teaching (2nd ed.). Cambridge University Press.

Richards, J. C., & Rodgers, T. S. (2006). Communicative language teaching Today. Cambridge University Press.

Savignon, S. (1997). Communicative competence: theory and classroom practice. McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30