สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • นิติ ญานะ คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • ธีระภัทร ประสมสุข คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • เสกชัย ชมภูนุช คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • ชัชรินทร์ ชวนวัน คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา, ยุคดิจิทัล, สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล 3) ตรวจสอบแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยใช้ประชากรของโรงเรียนจำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 17 คน และครู จำนวน 143 คน รวม 160 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ สังเคราะห์เนื้อหาและแบบประเมินตรวจสอบ โดยค่าร้อยละ แล้วสรุปเป็นเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวม อยู่ในระดับมาก ด้านความสามารถในการใช้และบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาและการปฏิบัติงาน ระดับมาก ด้านความสามารถส่งเสริม สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ระดับมาก และด้านความสามารถประเมินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับปานกลางตามลำดับ
  2. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล คือ ควรมีนโยบาย แนวปฏิบัติการอบรมเรื่องการปฏิบัติงานของสถานศึกษาที่เชื่อมโยงกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ควรออกแบบการประเมินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ควรวางแผนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในอนาคต โดยใช้วงจร PDCA ควรจัดระบบจัดการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้มีความพร้อมทั้งอุปกรณ์ ระบบเครือข่าย เพื่อรองรับการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
  3. การตรวจสอบแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดเชียงใหม่ มีค่าค่าความเหมาะสม ความเป็นไปได้ โดยรวมคิดเป็นร้อยละ 100

References

กลุ่มสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 6. (2563). สรุปการวิเคราะห์สภาพปัญหา กลุ่ม 6. กลุ่มสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 6.

ฉวีวรรณ ฉัตรวิไล. (2560). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินการตามมาตรฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

เยาวลักษณ์ ซื่อสัตย์, สุรางคนา มัณญานนท์, และเจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม. (2564). การศึกษาสมรรถนะและแนวทางพัฒนาด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายสหวิทยา เขต 8 (ศรีนครอัจจะ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 136-147.

สตรีรัตน์ ตั้งมีลาภ. (2558). การศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา กำแพงเพชร เขต 2. มหาวิทยาลัยนเรศวร. http://www.edu.nu.ac.th/th/news/docs/download/2018_05_18_14_49_54.pdf

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559, 1 พฤศจิกายน). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. True ปลูกปัญญา. https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232/-edu-teaartedu-teaart-teaartdir

เอกอุดม จ้ายอั้น, อโนทัย ประสาน, และสุภาพ เต็มรัตน์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารกับการจัดการระบบสารสนเทศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วารสารบัณฑิตศึกษา, 15(68), 90-100.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30