การพัฒนาคู่มือในการสร้างวินัยเชิงบวกของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเวียงสระ

ผู้แต่ง

  • ศศิวรรณ มุสิก สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • นัฎจรี เจริญสุข สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ชูศักดิ์ เอกเพชร สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

คู่มือ, วินัยเชิงบวก, ผู้ปกครอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวินัยเชิงบวก 2) สร้างและพัฒนาคู่มือในการสร้างวินัยเชิงบวก 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของคู่มือในการสร้างวินัยเชิงบวกของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเวียงสระ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน 1) ศึกษาสภาพการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวินัยเชิงบวกของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่าง 310 คน 2) สร้างและพัฒนาคู่มือในการสร้างวินัยเชิงบวกของผู้ปกครอง 3) ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ของคู่มือในการสร้างวินัยเชิงบวกของผู้ปกครอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การใช้คู่มือ และแบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวินัยเชิงบวกของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเวียงสระ โดยศึกษาจากสภาพการเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครอง ทั้งในด้านพฤติกรรมเชิงบวกและพฤติกรรมเชิงลบ ผลที่ได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก
  2. คู่มือในการสร้างวินัยเชิงบวกของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเวียงสระ ประกอบด้วยเนื้อหา 4 ส่วน ดังนี้ 1) บทนำ 2) การสร้างวินัย 3) วินัยเชิงบวก 4) สื่อเพิ่มเติม
  3. ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์ของคู่มือในการสร้างวินัยเชิงบวกของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเวียงสระ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับ คือ ด้านความมีประโยชน์ ด้านเป็นไปได้ และด้านความเหมาะสม และผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจหลังการใช้คู่มือเพิ่มมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ชายแดน เดชาฤทธิ์ และอัญชลี ชยานุวัชร. (2561). การศึกษาประสบการณ์การทาผิดวินัยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดปทุมธานี. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 4(1), 4-22.

ชุมศิริ ตันติธารา. (2559). ผลการใช้โปรแกรมการสร้างวินัยเชิงบวกที่มีต่อการทำงานของสมองด้านการจัดการของเด็กปฐมวัย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. คลังปัญญาจุฬาฯ. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55711

ทานิดา ศิลปะ. (2553). การใช้กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อจัดการขยะบริเวณท่าเทียบหรือท่องเที่ยว: กรณีศึกษาท่าเทียบหรือท่องเที่ยวอ่าวฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ปนัดดา ธนเศรษฐกร. (2561). การพัฒนาทักษะสมอง EF กับพัฒนาการเด็กปฐมวัย. ใน สุภาวดี หาญเมธี, ธิดา พิทักษ์สินสุข, และ ภาวนา อร่ามฤทธิ์ (บ.ก.), คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย (น. 128-159). มติชน.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2551). เทคนิคการเขียนและผลิตตำรา (พิมพ์ครั้งที่ 5). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยวลี ธนเศรษฐกร และปนัดดา ธนเศรษฐกร. (2563). 101 เคล็ดวิธี สร้างเด็กดี มีความสุข. ฐานบุ๊คส์.

พัชรา พุ่มพชาติ. (2561). ผลการใช้ชุดฝึกอบรมผู้ปกครองเรื่องการสร้างวินัยเชิงบวกผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองที่มีต่อวินัยในตนเองและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(38), 15-30.

พิเศษ ปั้นรัตน์. (2556). เอกสารการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง หลักและวิธีการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

แพรวพรรณ สุริยวงศ์. (2559). รู้ทันอารมณ์วัยรุ่น รับมือปัญหาความรุนแรง. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. https://www.thaihealth.or.th/รู้ทันอารมณ์วัยรุ่น-รับ

มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก. (2562). ความรุนแรงต่อเด็กสร้างบาดแผลทางใจ. https://www.thaichildrights.org/articles/violence01

สมบัติ ตาปัญญา. (2563). การประยุกต์ใช้ วินัยเชิงบวกกับ 8 พฤติกรรมของเด็ก คู่มือสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรมกิจการเด็กและเยาวชน.

สุกัญญา ฆารสินธุ์ และวรนุช ไชยวาน. (2562). พฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครองที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กวัยก่อนเรียนในเขตชุมชนแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 4 “การวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” (น. 692). มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

อรวรรณ ล่องลือฤทธิ์. (2565). คู่มือการปฏิบัติงานพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2. http://www.cpn2.go.th/wp-content/uploads/2020/06/งานพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน.pdf

Dreikurs, R., & Stolz. V. (1991). Children: the challenge: the classic work on improving parent-child relations--intelligent, humane & eminently practical. Plume.

Dreikurs, R., Cassel, P., & Ferguson, E. D. (2004). Discipline without tears: how to reduce conflict and establish cooperation in the classroom. Wiley.

Nelsen, J. (2006). Positive discipline. Ballantine Books.

Yamane, T. (1967). Statistics: an introductory analysis (2nd ed.). Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30