การพัฒนาสื่อประสมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง สิ่งแวดล้อมกับลักษณะการดำเนินชีวิตในภูมิภาคต่าง ๆ ของไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธนรัตน์วิทยา

ผู้แต่ง

  • ขวัญหทัย ธรรมเสนา คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • อนงค์ศิริ วิชาลัย คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • วารุณี โพธาสินธุ์ คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

แผนการจัดการเรียนรู้, การพัฒนาสื่อประสม, การเรียนรู้ด้วยตนเอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สื่อประสม เรื่อง สิ่งแวดล้อมกับลักษณะการดำเนินชีวิตในภูมิภาคต่าง ๆ ของไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธนรัตน์วิทยา จังหวัดลำพูน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน E1/E2 เท่ากับ 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สื่อประสม เรื่อง สิ่งแวดล้อมกับลักษณะการดำเนินชีวิตในภูมิภาคต่าง ๆ ของไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธนรัตน์วิทยา จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธนรัตน์วิทยา จังหวัดลำพูน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สื่อประสม จำนวน 6 แผน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ เป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความสอดคล้อง

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สื่อประสมมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.84/84.44 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
  2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สื่อประสม มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 7.05 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.67 และผลการทดสอบหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 16.88 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.92 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ 9.83

References

กฤษดา บุญหมื่น. (2555). การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้. เจริญวิทย์การพิมพ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กาญจนา ไชยพันธุ์. (2549). กระบวนการกลุ่ม. โอเดียนสโตร์.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2551). นวัตกรรมการศึกษา. ธรรกมลการพิมพ์.

นฤมล ข้ากัญ. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. Srinakharinwirot University Institutional Repository. https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/921

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543). นวัตกรรมการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรโรฒ.

มาเรียม นิลพันธ์. (2553). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่5). มหาวิทยาลัยศิลปากร

เรมิกา กุลาตี. (2558). การใช้การสอนแบบโฟนิกส์เพื่ออพัฒนาการออกเสียงภาษาอังกฤษและความรู้คําศัพท์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. CMU Intellectual Repository. https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:123789

รำไพ ดีแสน. (2553). การพัฒนาทักษะการอ่านโดยวิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเพ็ญประชานุกุล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สาเกต ทองเที่ยง. (2557). การใช้วิธีสอนด้วยสื่อประสมร่วมกับหนังสือเล่มใหญ่ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการตอบคำถาม วิชา สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนโรงเรียนนานาชาติ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. CMU Intellectual Repository. https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:122370

สุรชาติ สังข์รุ่ง. (2542). ผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ. ปฏิรูปการศึกษา, 1(5), 8-9.

สุวารี ไวยวุฒินันท, กระพัน ศรีงาน, และโกวิท วัชรินทรางกูร. (2556). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่องการส่งเสริมสุขภาพปากและฟัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้สื่อประสม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 142-172. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/bruj/article/view/75583

Ausubel, D. P. (1963). The psychology of meaningful verbal learning. Grune & Stratton.

Tuckman, B.W. (1978). Conducting Educational Research. Harcourt.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28