ปลิโพธ: วิเคราะห์เหตุความกังวลใจภัยเงียบตามหลักพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระมหาเจริญ กตปญฺโญ (กระพิลา) คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • มนตรี วิชัยวงษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • ดวงดาว กระพิลา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • พระครูสมุห์ทศพล ญาณสาโร โรงเรียนเมตตาศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ฯ

คำสำคัญ:

ความกังวลใจ, ปลิโพธ, ภัยเงียบ, หลักพระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอมูลเหตุความวิตกกังวลใจ โดยใช้หลักปลิโพธเป็นกรอบของการวิเคราะห์ คำว่า “ปลิโพธ” เป็นคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาที่ใช้เรียกอาการความกังวลใจ ซึ่งข้อมูลที่ใช้นำมาวิเคราะห์เป็นหลักฐานชั้นต้นคือคัมภีร์พระไตรปิฎก และหลักฐานชั้นอรรถกถาคือคัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นผลงานการรจนาของพระพุทธโฆษาจารย์ สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ โดยเฉพาะการสร้างความเข้าใจที่สามารถปรับใช้ต่อการดำเนินชีวิตของฆราวาส เนื่องจากการขยายความในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา จะเป็นการวิเคราะห์และขยายความสำหรับพระภิกษุหรือผู้ปฏิบัติธรรมเท่านั้น แต่ในบทความนี้ผู้เขียนต้องวิเคราะห์เพื่อให้ครอบคลุมถึงวิถีชีวิตของคนทั่วไป ซึ่งจะแสดงให้เห็นสภาพอาการความวิตกกังวลว่าเป็นปัญหารบกวนจิตใจและส่งผลต่อการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการความตั้งมั่นหรือความแน่วแน่ทางจิตใจที่เรียกว่า สมาธิ จำเป็นต้องระงับอาการวิตกกังวลที่ก่อกวนจิตใจให้ได้มากที่สุด เนื่องจากอาการปลิโพธคือความวิตกกังวลจะสร้างความฟุ้งซ่าน ความหวั่นไหว ความไม่มั่นใจในอารมณ์ หรือหากความวิตกกังวลเกิดขึ้นมากและเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดภาวะเครียดขึ้นมาแทน นอกจากนี้ ความวิตกกังวลจะทำให้เราสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง เนื่องจากเราไม่สามารถควบคุมอารมณ์ให้เป็นปกติได้ และจะทำให้ความคิดขาดการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะนำไปสู่การใช้อวัยวะในร่างกายส่วนอื่น ๆ ไม่เป็นไปตามประสิทธิภาพ เมื่อจิตใจไม่มีมั่นคง ความคิดก็ไม่ความเฉียบแหลม ร่างกายก็ไม่สามารถใช้งานได้ตามที่ต้องการ สภาพเช่นนี้จึงกลายเป็นปัญหาต่อการดำเนินชีวิต อาการวิตกกังวลจึงควรได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง

References

ตฏิลา จำปาวัลย์. (2561). ความวิตกกังวลตามสถานการณ์. วารสารพุทธจิตวิทยา, 3(1), 13-20. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/242981

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พระธรรมขันธ์. http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปลิโพธ

พระพุทธโฆสเถระ. (2548). คัมภีร์วิสุทธิมรรค (พิมพ์ครั้งที่ 6). ธนาเพรส.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2559). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ระชานนท์ ทวีผล และประสพชัย พสุนนท. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการโรงแรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(5), 721-730.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. https://dictionary.orst.go.th/

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล. (2566). โรควิตกกังวล. https://www.bumrungrad.com/th/conditions/anxiety-disorder

โรงพยาบาลศิครินทร์. (2563). รู้จัก “โรคแพนิค” อาการเป็นอย่างไร?. https://www.sikarin.com/health/โรคแพนิค-panic-disorder

อนุสร จันทพันธ์ และบุญชัย โกศลธนากุล. (2549). จริต 6 ศาสตร์ในการอ่านใจคน. อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28