โลกทัศน์ที่มีต่อบทบาทสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

ผู้แต่ง

  • วรยุทธ สถาปนาศุภกุล สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

โลกทัศน์, บทบาท, สมาชิกวุฒิสภา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาโลกทัศน์ที่มีต่อบทบาทสมาชิกวุฒิสภา 2) ศึกษาความดาดหวังการได้มาของสมาชิกวุฒิสภาฯ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อบทบาทสมาชิกวุฒิสภาฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษา ภาคพิเศษ จำนวน 224 คน ใช้วิธีแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสนทนากลุ่ม นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบการบรรยาย

ผลการวิจัยพบว่า

  1. โลกทัศน์ที่มีต่อบทบาทสมาชิกวุฒิสภา โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (สว.) มีค่าแปลผลอยู่ในระดับปานกลาง gif.latex?\chi&space;\bar{}=3.21, รองลงมาคือด้านความคาดหวังของประชาชน gif.latex?\chi&space;\bar{}= 3.22, ด้านบทบาทหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและตามบทเฉพาะกาลตามลำดับ gif.latex?\chi&space;\bar{}= 3.07 
  2. ความคาดหวังต่อบทบาทของสมาชิกวุฒิสภา มีหน้ากลั่นกรองกฎหมาย แต่การปฏิบัติ คือสนับสนุนฝ่ายรัฐบาล สมาชิกวุฒิสภา มาจาการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) จึงขาดความเป็นลางทางการเมือง ขาดความสนใจในปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ขาดการเหลียวแล และไม่ยึดโยงกับประชาชน ขณะที่ประสบปัญหาสามทุกข์ร้อนที่ข้าวของมีราคาแพง
  3. ข้อเสนอแนะ สมาชิกวุฒิสภาควรมาจาการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง ไม่เห็นด้วยที่มาจากการแต่งตั้งโดยคณะบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งจะไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน และไม่ยึดโยงกับประชาชน

References

นรนิติ เศรษฐบุตร, สมคิด เลิศไพฑูรย์, และสังศิต ไสววรรณ. (2545). ประสิทธิผลของรัฐสภาไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

บรรฑูรย์ เกริกพิทยา. (2546). บทบาทของสมาชิกวุฒิสภาในการพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาเฉพาะอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. สำนักงานศาลยุติธรรม.

วิจิตรา วัชราภรณ์. (2545). ความคิดเห็นของข้าราชการรัฐสภาที่มีต่อบทบาทและความรับผิดชอบของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สรภัทร สมจินตนากุล. (2560). ปัญหาและผลกระทบอันเกิดจากวิธีการได้มาซึ่งหน้าที่และอำนาจของสมาชิกวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. ศูนย์เรียนรู้และหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Sorapat.Som.pdf

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2540). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. สำนักงาน.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สำนักงาน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30