อิทธิพลการสื่อสารทางการเมืองยุคดิจิทัลกับการเคลื่อนไหวทางสังคม
คำสำคัญ:
การสื่อสารทางการเมือง, ยุคดิจิทัล, การเคลื่อนไหวทางสังคมบทคัดย่อ
การสื่อสารทางการเมืองยุคดิจิทัลก่อเกิดอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวทางสังคม ถือว่าเป็นกระบวนทัศน์ (Paradigm) ทางการสื่อสารการเมืองแบบใหม่ ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมทางการเมืองในปัจจุบันเป็นอย่างมากซึ่งจะส่งผลกระทบในเชิงทางบวกและทางลบขึ้นอยู่กับที่จังหวะเวลาและบทสังคมการเมืองที่เกิดขึ้นซึ่งผู้เขียนมองเห็นถึงการเคลื่อนไหวทางสังคมการเมืองที่ผ่านบริบทแห่งการเคลื่อนไหวที่มาในอดีตและปัจจุบันที่มองเห็นถึงความสำคัญและอิทธิของสื่อสารทางการเมืองที่มีความสำคัญอย่างมากต่อสังคมการเมืองไทยและสังคมการเมืองโลกเป็นอย่างมาก สังคมแห่งการสื่อสารทางการเมืองมีบทบาทอย่างมากในส่วนของการค้นพบว่า 3 รูปแบบ (1) สมาชิกของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองอย่างมีปฏิสัมพันธ์ในการสื่อสาร แสดงความคิดเห็น โต้ตอบ แลกเปลี่ยนการรับรู้ มีอิทธิพลต่อทัศนคติเชิงอดุมการณ์ให้เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว (2) มีอิทธิพลในเชิงการเผยแพร่หรือนำส่งวาทกรรมทางการเมือง ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งตามวาทกรรมนั้น และ (3) แนวโน้มพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมที่เปิดรับข้อความการสื่อสารทางการเมืองสามารถจูงใจให้เกิดการติดตาม การชวนเชื่อ และเร่งให้เกิดการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะสถาบันทางการเมือง จำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรมการสื่อสารมาใช้รณรงค์ให้เกิดการรับรู้ข่าวสาร ข้อเท็จจริง เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมทางการเมือง รวมทั้งกล่อมเกลาเชิงทัศนคติให้เกิดการเคลื่อนไหวทางสังคมในทิศทางที่พึงประสงค์สำหรับอนาคต
References
กิตตินันท์ วงษ์สุวรรณ. (2565). ขบวนการต่อสู้ทางการเมืองของนักเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2563-2564 [วิทยานิพน์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
คันธิรา ฉายาวงศ์. (2564). แนวโน้มการเมืองไทยกับสื่อสังคมออนไลน์ในศตวรรษที่ 21. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร. พระนคร, 6(1), 97-107. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/252157
ธนาคาร เลิศสุดวิชัย. (2562). ประเภทคอนเทนต์ มีอะไรบ้าง มาทำความรู้จัก Content Matrix ให้มากขึ้น. Digital Marketing Wow. https://digitalmarketingwow.com/2019/03/20/ประเภท-คอนเทนต์
บุษบา หินเธาว์. (2556). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
พระครูใบฏีกาวิชาญ วิสุทโธ. (2565). การสื่อสารทางการเมืองในยุคดิจิทัล. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(1), 109-120. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/259849
พระณัฐวุฒิ พันทะลี, พระครูสังฆรักษ์ ทวี อภโย, พระครูวินัยธรวรชัด ปยุตโต, และชนาธิป ศรีโท. (2565). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนผ่านสื่อสังคมออนไลน์. วารสารการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(1), 83-93.
มัทนา นันตา และพิรงรอง รามสูต. (2557). เว็บไซต์ยูทูบ (ภาษาไทย) กับการสื่อสารความเกลียดชัง. วารสารนิเทศศาสตร์, 32(3), 39-67. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcomm/article/view/160410
มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์. (2554). วาทกรรมเรื่องเพศสภาพในการเมืองไทย: สังคมไทยเรียนรู้อะไร? [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์.
รัสรินทร์ ว่องสวัสดิ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีในภาคตะวันออก: ศึกษากรณีการใช้เฟซบุ๊ก [วิทยานิพน์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
วศิน อุ่ยเต็กเค่ง. (2559). การศึกษากลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดออนไลน์ของธุรกิจภาพยนตร์ออนไลน์ รูปแบบสตรีมมิ่งในประเทศไทย. DSpace at Bangkok University. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2288
วัฒนา พุทธางกูรานนท์. (2531). สื่อสารมวลชนกับสังคม. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วุฒิพร ลิ้มวราภัส. (2562). กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ กรณีศึกษาโพสต์ทูเดย์และแนวหน้า [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. คลังปัญญา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2562/b207812.pdf
ศิริเพ็ญ มโนศิลปกร. (2551). ปัจจัยทีมีผลต่อการซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำราญ นาบุตร. (2558). บทบาทในการใช้อำนาจของรัฐต่อผู้ชุมนุมทางการเมือง [วิทยานิพน์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เสถียร เชยประทับ. (2551). การสื่อสาร การเมือง และประชาธิปไตยในสังคมพัฒนาแล้ว. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอมิกา เหมมินทร์. (2556). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social media) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Deutsch, K. W. (2003). Political Community and the North Atlantic Area. In Brent F Nelsen & Alexander Stubb (Eds.), the European Union: Readings in the Theory and Practice of European Integration (pp. 121-143). Lynn Rienner.
Heywood, A. (2002). Politics (2nd ed.). Palgrave Macmillan.
Huggins, R., & Turner, J. (1997). The politics of influence and control. In B. Axford (Ed.), Politics: An introduction (pp. 287-323). Routledge.
Maicas, M. P. (1992). Introduction a communication social. ESRPPPU.
Mercado, C. M. (1991). Development communication management. The Journal of Development Communication, 12(2), 13-25.