รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคมดิจิทัลมองผ่านพุทธอภิปรัชญาในคัมภีร์มิลินทปัญหา
คำสำคัญ:
พุทธอภิปรัชญา, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, สังคมดิจิทัล, คัมภีร์มิลินทปัญหาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคมดิจิทัล 2) ศึกษาแนวคิดพุทธอภิปรัชญาในคัมภีร์มิลินทปัญหา 3) ประยุกต์ใช้แนวคิดพุทธอภิปรัชญาในคัมภีร์มิลินทปัญหาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคมดิจิทัล 4) สร้างองค์ความรู้ใหม่และรูปแบบเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคมดิจิทัลมองผ่านพุทธอภิปรัชญาในคัมภีร์มิลินทปัญหา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
- แนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคมดิจิทัล เป็นการวิเคราะห์ความรู้ที่เป็นสาระสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิต 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ภายใต้ความรู้เท่าทันการใช้สื่อเทคโนโลยี
- แนวคิดพุทธอภิปรัชญาในคัมภีร์มิลินทปัญหา เป็นการวิเคราะห์หลักปรมัตถ์ธรรม คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน
- การประยุกต์ใช้แนวคิดพุทธอภิปรัชญาในคัมภีร์มิลินทปัญหาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคมดิจิทัล เป็นวิจักษ์ประเมินคุณค่าเนื้อหาข้อ 1 และ 2 เชิงจริยศาสตร์
- การสร้างองค์ความรู้ใหม่และรูปแบบเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคมดิจิทัลมองผ่านพุทธอภิปรัชญาในคัมภีร์มิลินทปัญหา เป็นการวิธานสร้างองค์ความรู้ใหม่ คือ C3 MODEL ได้แก่ มองตนออก เป็นการสำนึกรู้ตนตามความเป็นจริงบนฐานพุทธอภิปรัชญาว่า ชีวิตกำเนิดอย่างไร มีเป้าหมายที่แท้จริงอย่างไร บอกตนได้ เป็นสำนึกรู้ตนสืบต่อจากมองตนออก บนหลักการว่าหากมองตนออกก็จะสามารถบอกตนได้ว่าควรหรือต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนอย่างไร และ ใช้ตนเป็น เป็นความสามารถในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนบนฐานมองตนออกและบอกตนได้ให้บรรลุเป้าหมายทั้งด้านโลกียะและโลกุตระ รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคมดิจิทัลที่ส่งเสริมให้ดำรงตนอยู่ได้ อยู่ดี อยู่รอด ร่วมมือกันสรรค์สร้างสังคมสันติสุขสืบไป
References
กรมการศาสนา. (2544). มิลินทปัญหา เล่ม 2. โรงพิมพ์การศาสนา.
กรมศิลปากร. (2549). มิลินทปัญหา (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักศิลปาบรรณาคาร.
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระมหาปพน กตสาโร (แสงย้อย). (2561). การวิเคราะห์อภิปรัชญาที่ปรากฏในสารัตถะแห่งคัมภีร์มิลินทปัญหา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]. MCU Digital Collections. https://e-thesis.mcu.ac.th/thesis/164
พระมหาวิสิษฐ์ ปญฺญาวฑฺฒโน (กฤษวี). (2545). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องอุปมากถาในมิลินทปัญหา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภิกขุเปสละ. (2559). มิลินทปัญหา: กษัตริย์กรีกถาม-พระนาคเสนตอบ. สำนักพิมพ์ปัญญาพลัส.
มณพิไลย นรสิงห์. (2560, 28 พฤศจิกายน). การพัฒนาคนเพื่อการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ Thailand 4.0. มติชนออนไลน์. https://mgronline.com/daily/detail/9600000120293
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). htttps:/www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf
สุภาส เครือเนตร. (2541). แนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต. โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, ระวิวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, และวนิดา พุ่มไพศาลชัย. (2545). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย. กรมสุขภาพจิต. https://dmh.go.th/test/whoqol