การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสอนคิดในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ผู้แต่ง

  • จุฬารัตน์ เหล่าไพโรจน์จารี มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ธิดาวัลย์ อุ่นกอง มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สมบัติ นพรัก มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วรรณากร พรประเสริฐ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การบริหารสถานศึกษา, โรงเรียนสอนการคิด, องค์การบริหารส่วนจังหวัด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารโรงเรียนสอนคิดในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) สร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนสอนคิดในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 3) ประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนสอนคิดในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน 1) ศึกษาองค์ประกอบและแนวทาง โดยสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและศึกษาแนวทางการบริหารโรงเรียนสอนคิด จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศ จำนวน 3 โรงเรียน และศึกษาองค์ประกอบและประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนสอนคิด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้จัดการเรียนการสอนส่งเสริมการสอนคิด จำนวน 201 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกการศึกษาเอกสาร แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และสร้างข้อสรุป 2) การสร้างรูปแบบ โดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มายกร่างและตรวจสอบรูปแบบโดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน
3) การประเมินรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 186 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารโรงเรียนสอนคิดในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ 3) ระบบและกลไก ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ 1) ปัจจัยนำเข้า 2) กระบวนการ 3) ผลผลิต 4) ผลลัพธ์ 5) ข้อมูลย้อนกลับ ผลการประเมิน ความครอบคลุม ความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. พริกหวานกราฟฟิค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กระทรวง.

ขจรศักดิ์ ไทยประยูร. (2560). รูปแบบการพัฒนาเนื้อหาแบบบูรณาการเกี่ยวกับความรู้ที่ใช้ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

คัมภีร์ สุดแท้, สมชาย วงศ์เกษม, และสุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(2), 127-136.

จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). บุ๊คพอยท์.

จิณณวัตร กิ่งแก้ว. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน พระปริยัติธรรม [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

จิตรวี ซื่อสัตย์. (2564). คุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตภาคเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.

ชัยณรงค์ วงศ์ธีรทรัพย์. (2557). ถอดรหัสแนวคิด เพื่อชีวิตที่มีคุณค่า. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ทีปพิพัฒน์ สันตะวัน. (2551). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาจริยธรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2559). การศึกษาไทย 4.0 ในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ใน การประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2559 เรื่อง การวิจัยนวัตกรรมการเรียนรู้และการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (น. 23-25). โรงพิมพ์คุรุสภา.

นันทกานต์ จิรังกรณ์, ธานี เกสทอง, และทีปพิพัฒน์ สันตะวัน. (2563). รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดประเทศไทย 4.0 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 8(2), 81-93.

ปริชาติ ชมชื่น. (2555). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่มี ประสิทธิผลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ปุณณัตถ์ ไชยคำ. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงราย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). คิดนอกกรอบ: สอนและสร้างได้อย่างไร. วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วรชัย ภิรมย์. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในเขตพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมคิด บางโม. (2548). องค์การและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 4). วิทยพัฒน์.

สมชัย จรรยาไพบูลย์. (2555). รูปแบบการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

สายทิตย์ ยะฟู. (2556). การพัฒนารูปแบบการประเมินหน่วยประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2558). รายงานประจำปี 2558 สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). สำนักงาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พริกหวานกราฟฟิค.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2556). โลกเปลี่ยน ไทยปรับ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพธุรกิจ.

อรชร ปราจันทร์ และสุกัญญา แช่มช้อย. (2561). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสาสรวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 12(1), 156-169.

Kast, F. E., & Rosenzweig, J. E. (1985). Organization and management: a systems and contingency approach (4th ed.). McGraw-Hill.

Keeves, P. J. (1988). Education research, methodology and management: an international handbook. Pergamon Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30