ท้องถิ่นกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

ผู้แต่ง

  • พระครููเกษมวัชรดิตถ์ (รอดจากทุกข์) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • พระครูวินัยธรอธิษฐ์ สุวฑฺโฒ (สุขพานิช) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

คำสำคัญ:

ท้องถิ่น, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ชุมชนท้องถิ่น, สถานการณ์ระบาด, โควิด-19

บทคัดย่อ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัสอุบัติใหม่หรือโควิด-19 นับได้ว่าเป็นโรคระบาดของโลกที่มีความรุนแรงในระดับ และถึงแม้ว่าในปัจจุบันทั่วโลกจะสามารถชะลอการติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้จากการผลิตและรับวัคซีน แต่อย่างไรก็ตามก็เป็นเพียงการสร้างภูมิคุ้มกันเบื้องต้นให้แก่ร่างกายมนุษย์แต่ก็ยังไม่มีการรายงานถึงยารักษาโรคให้หายขาดได้ จากการระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมาของประเทศไทยพบว่า บทบาทหนึ่งที่สำคัญที่มีส่วนช่วยให้เกิดการลดการแพร่ระบาดของโรคนั้น มาจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนท้องถิ่น บทบาทของท้องถิ่นผูกพันอยู่กับผลประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่เหล่านั้นโดยตรง มีความยึดโยงต่อประชาชน บทบาทของท้องถิ่นในการจัดการโควิด-19 สะท้อนความเป็นประชาธิปไตยและผลประโยชน์ต่อประชาชน การควบคุมผ่านการบริหารจัดการขององค์กรปกครองท้องถิ่นและชุมชนนั้นที่ผ่านมาใช้กลไกหลาย ๆ ด้าน ผสมผสานระหว่างการใช้อำนาจที่เป็นทางการตามที่กฎหมายกำหนดไว้กับอำนาจที่ไม่เป็นทางการผ่านเครือข่ายความร่วมมือในหลายระดับ จนสามารถทำผลงานในการป้องกันการแพร่ระบาดได้อย่างประสบผลสำเร็จ ซึ่งตัวชี้วัดในความสำเร็จนี้คือการไม่มีการแพร่ระบาดเกิดขึ้นในพื้นที่เขตความรับผิดชอบของพื้นท้องถิ่นนั้น

References

กรมควบคุมโรค. (2565). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. กระทรวงสาธารณสุข. https://ddcportal.ddc.moph.go.th/portal/apps/opsdashboard/index.html#/20f3466e075e45e5946aa87c96e8ad65.

กฤษฎา บุญชัย, จุฑาทิพย์ มณีพงษ์, ปิโยรส ปานยงค์, ภัทราพร แตโจ, ประภาศ ปิ่นตบแต่ง, วิฑูรย์ เลี่ยมจำรูญ, และสุภา ใยเมือง. (2563). การประเมินความเสียหาย ผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นต่อภาวะโรคระบาด COVID 19. สถาบันพระปกเกล้า.

จิราภรณ์ ศรีแจ่ม. (2563, 28 มีนาคม). วันที่ไทยรู้จัก COVID-19. ไทยพีบีเอส. https://news.thaipbs.or.th/content/290347.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2563. (2563, 13 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 58ง. หน้า 8-9.

พิมณทิพา มาลาหอม, พนมวรรณ์ สว่างแก้ว, และวิชิต พุ่มจันทร์. (2564). พลังชุมชนกับการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันการระบาดของโควิด–19 ในชุมชนชายแดนไทย – ลาว. คลังข้อมูลจดหมายเหตุดิจิทัล โควิด-19. https://db.sac.or.th/covid-19/th/article-details.php?atc_id=3

มัทยา บุตรงาม. (2563). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการบรรเทาปัญหาโรคโควิด 19. การเงินการคลัง. http://www.fpojournal.com/thailand-local-authority-covid-measures/

รุ่งทิวา มากอิ่ม, ฐิติกร โตโพธิ์ไทย, และชมพูนุท โดโพธิ์ไทย. (2563). บทเรียนจากการป้องกันและควบคุมการระบาดของโควิด-19: กรณีศึกษาเทศบาลเมืองอ่างทอง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 14(4), 489-507.

เวียงรัฐ เนติโพธิ์. (2564, 18 พฤศจิกายน). บทบาทของท้องถิ่นกับการป้องกันโควิด-19 ที่รัฐราชการทำให้ลืม แต่ voter ไม่ลืม. ประชาไท. https://prachatai.com/journal/2021/11/96008

ศิริวดี วิวิธคุณากร, ภักดี โพธิ์สิงห์, และสัญญา เคณาภูมิ. (2563). การปกครองท้องถิ่นไทยในยุคพลิกผันการเปลี่ยนแปลง. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(2), 357-374.

ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ และธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา. (2556). ศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ ภาคประชาชนในการจัดการสุขภาพ. โครงการระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกล เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558. https://oer.learn.in.th/search_detail/result/175883

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2564ก). สานพลังสังคม-ชุมชนท้องถิ่นใช้พื้นที่ต้นแบบ 5 จังหวัด วิจัยแก้ปัญหา-ลดผลกระทบจากโควิด-19-สร้างวัคซีนทางสังคม. https://web.codi.or.th/20210731-26067

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2564ข). ‘2 ปีโควิด-19’ (2)พอช. –ขบวนองค์กรชุมชนและภาคีเครือข่าย: ถอดบทเรียนการจัดการโควิดโดยชุมชน “ชุมชนจัดการได้ อยู่ร่วมกันได้”. https://web.codi.or.th/20211126-28866

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2561ก). ระบบบริหารราชการของราชอาณาจักรไทย. https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/thailand.pdf

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2561ข). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 205. OCSC Wiki. http://wiki.ocsc.go.th/องค์ความรู้กฎหมาย/รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2560/มาตรา_205

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง. (2565). วันท้องถิ่นไทย. http://www.banyangburiram.go.th/index.php?op=dynamiccontent_detail&dynamiccontent_id=92379

องค์การบริหารส่วนตำบลรามแก้ว. (2562). อำนาจหน้าที่โครงสร้างรวมและอำนาจหน้าที่ของ อบต. ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562. https://www.ramkaew.go.th/content/cate/2

Vongsayan, H. & Nethipo, V. (2021). The Roles of Thailand’s City Municipalities in the COVID-19 Crisis. Contemporary Southeast Asia, 43(1), 15-23

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30