การสอดส่องและให้ข้อเสนอแนะการปฏิบัติภารกิจหน่วยงานภาครัฐ ของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดเลย
คำสำคัญ:
การสอดส่อง, การให้ข้อเสนอแนะ, คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การปฏิบัติภารกิจการสอดส่องและให้ข้อเสนอแนะหน่วยงานภาครัฐของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดเลย 2) ผลการปฏิบัติภารกิจในการสอดส่องและให้ข้อเสนอแนะหน่วยงานภาครัฐของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดเลย และ 3) การสร้างเครือข่ายการสอดส่องและให้ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดเลย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มเป้าหมายรวมทั้งสิ้นจำนวน 25 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาวิธี
ผลการวิจัยพบว่า
- การวิเคราะห์การสอดส่องและให้ข้อเสนอแนะการปฏิบัติภารกิจหน่วยงานภาครัฐของคณะกรรมการคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดเลย ตามหลัก SWOT Analysis ด้านจุดแข็ง พบว่ามีการตรวจสอบจากภาคประชาชน จุดอ่อนคือการขาดงบประมาณ โอกาสคือเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนรวม มีการสร้างเครือข่ายแต่ยังมีอุปสรรคคือการให้รายละเอียดโครงการไม่ครบถ้วน
- ผลการในการสอดส่องและให้ข้อเสนอแนะปฏิบัติภารกิจหน่วยงานภาครัฐของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดเลย พบว่าขาดงบประมาณการออกตรวจงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด เพราะปริมาณโครงการในจังหวัดมีจำนวนมากทำให้ไม่สามารถสอดส่องโครงการต่าง ๆ ได้ตามเป้าหมาย
- การสร้างเครือข่าย พบว่าการหาเครือข่ายที่มีจิตอาสาค่อนข้างยาก และยังขาดความรู้การเป็นเครือข่ายที่ดี และมีองค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับคือ มีการตรวจสอบโดยภาคประชาชนเรื่องแนวทางปฏิบัติตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี อันเป็นผลให้การทำงานของภาครัฐเกิดประโยชน์สูงสุด สนองตอบต่อความต้องการของประชาชนเป็นสำคัญ เปรียบเสมือนเป็นแนวกันไฟ คอยป้องกันไฟที่อาจจะก่อความเสียหายได้ เป็นการป้องปรามการทุจริตภาคประชาชน ผ่านการสอดส่องและเสนอแนะ และมีข้อเสนอแนะในการพัฒนากระบวนการ นำไปสู่การพัฒนาที่ควรเพิ่มประเด็นการศึกษาให้ชัดเจนขึ้น โดยการเพิ่มการพัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด บทบาทและอำนาจหน้าที่ที่ควรปรับเปลี่ยนแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน
References
ขนิฏฐา กาญจนรังษีนนท์. (2542). การสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนา. บางกอกบล๊อกอ๊อฟเซ็ทการพิมพ์.
จารุวรรณ เมณฑกา. (2546). ความโปร่งใส (Transparency) ในการดำเนินการของรัฐ. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา, 2(1), หน้า 39-47.
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์.(2564). การพัฒนามาตรการคุ้มครองพลเมืองจากการสอดส่องโดยรัฐ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์. (2564). รัฐตำรวจ: อำนาจทำงกฎหมายของรัฐบาลไทยในการสอดส่องพลเมืองบนโลกไซเบอร์ [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์] CMU Journal of Law and Social Sciences, 14(2), 175-176.
พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2556). สังคมวิทยาการเมือง. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วรวิทย์ เปรมสมบัติ.(2562). ความสัมพันธ์ของความโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาลกับผลการดำเนินงานของกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน [วิทยานินพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถาบันพระปกเกล้า. (2547). วัดระดับการบริหารจัดการที่ดี. สถาบันพระปกเกล้า.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ปัญญา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.