แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลวังหมัน อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

ผู้แต่ง

  • ธวัช คำทองทิพย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • สุธาทิพย์ รัฐปัตย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • ปิยจิตร สังข์พานิช คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การจัดทำฐานข้อมูล, การวิเคราะห์ SWOT

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและหาแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบ เป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในตำบลวังหมัน อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท เก็บรวบรวมข้อมูลเก็บด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการจัดเวทีประชาคม เพื่อระดมความคิดในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จากผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ใน 8 หมู่บ้าน ของตำบลวังหมัน อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท จำนวน 88 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ SWOT สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลวังหมัน อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท คือ ควรมีโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ตามแผนยุทธศาสตร์ของผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) ซึ่งมีประเด็นการส่งเสริมผู้สูงอายุซึ่งประกอบด้วย 6 มาตรการหลัก ควรมีการพัฒนาระบบและกลไกในการขับเคลื่อนกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ เชื่อมต่อกันระหว่างคณะกรรมการระดับจังหวัด หน่วยงานภายในจังหวัดกับพื้นที่ และผู้สูงอายุระดับพื้นที่ นอกจากนี้ ควรมีมาตรการเชิงรุกในการดูแลสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุในพื้นที่ที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ รวมถึงแนวทางส่งเสริมสุขภาพของประชาชนก่อนวัยสูงอายุและเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุในพื้นที่

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ (2565). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566-2580). กรมกิจการผู้สูงอายุ. https://www.dop.go.th/download/laws/th1653553501-843_0.pdf

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2563). รายงานข้อมูลอำเภอวัดสิงห์. https://3doctor.hss.moph.go.th/main/rp_tambon?region=3&prov=MTg=&provn=4LiK4Lix4Lii4LiZ4Liy4LiX&ampid=1803&ampn=4Lin4Lix4LiU4Liq4Li04LiH4Lir4LmM

เดชา ทำดี, ภัทรพรรณ ทําดี, วิลาวัณย์ เสนารัตน์, และจรัส สิงห์แก้ว. (2565). การเตรียมความพร้อมเพื่อการพัฒนาระบบและกลไกรองรับสังคมสูงวัย อย่างมีศักยภาพในเขตสุขภาพที่ 1. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 10(1), 45-57. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/249272

ปิยะฉัตร พนทาส. (2564). การติดตามและประเมินผลแผนปฏิบัติการ Cluster กลุ่มผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย. https://eh.anamai.moph.go.th/th/cms-of-23/download/?did=210301&id=98810

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2563. https://thaitgri.org/?p=39772

สำนักงานจังหวัดชัยนาท. (2560). แผนยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุจังหวัดชัยนาท (พ.ศ.2560 – 2562) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2560. กลุ่มยุทธศาสตร์ สำนักงานจังหวัดชัยนาท.

สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2558). ยุทธศาสตร์ มาตรการ และแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ การจัดสวัสดิการ และการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28