แนวทางการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

ผู้แต่ง

  • ธนะชัย เกิดพรธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูวิรุฬห์สุตคุณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, ผู้ปฏิบัติงานวิชาการ, ยุคดิจิทัล, หลักอิทธิบาท 4

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานวิชาการในยุคดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานด้านวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้แทนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2 จำนวน 158 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน เลือกแบบเจาะจง

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพการปฏิบัติงานวิชาการในยุคดิจิทัล มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พัฒนาทักษะใช้เทคโนโลยี มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ พัฒนานวัตกรรมการสอน พัฒนาการเรียนการสอน และพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
  2. การพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น และวิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้นมีการปฏิบัติในระดับมาก ตามลำดับ
  3. แนวทางการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 พบว่า 1) ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น โดยต้องรับผิดชอบงานตามนโยบาย เอาใจใส่ในหน้าที่รับผิดชอบเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด 2) วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น มีการปรับทัศนคติต่อการทำหน้าที่และการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ ทุ่มเทกับงานที่มีและจัดลำดับความสำคัญของงาน 3) จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ให้ความสำคัญกับองค์กร และ 4) วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น มีความรู้ในงานที่ทำและต้องเรียนรู้ในงานตลอดเวลา ถืองานเป็นเรื่องท้าทายอย่ามองเป็นอุปสรรค รู้จักทำงานเป็นทีม

References

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2559). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. สำนักนายกรัฐมนตรี.

ณัฐกร สงคราม. (2557). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐกฤตา กันทาใจ. (2565). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. University of Phayao Digital Collections. https://updc.up.ac.th/items/edbd9422-b027-44a0-83eb-695895884dc1

บุญมี วิทยาสิทธิ์. (2560). การประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิพม์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดธนา ชินทตฺโต (ชินทนาม). (2560). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิพม์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย].

พระสิทธิพงษ์ สิทฺธิวาที (จันทร์สิงห์). (2561). การปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของบุคลากรในสำนักงานเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุทธิพงษ์ สุเมธโส (งอกลาภ). (2561). การบริหารสถานศึกษายุค 4.0 ตามหลักอิทธิบาท 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30. [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิพม์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอนุชา สิริสาโร (แรงดี). (2561). การพัฒนาวิชาชีพครูตามหลักอิทธิบาท 4 ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดชัยภูมิ [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]. MCU Digital Collections. https://e-thesis.mcu.ac.th/thesis/362

ยุพิน ขุนทอง. (2560). การบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิพม์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลลิตา สมใจ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. University of Phayao Digital Collections. http://www.updc. clm.up.ac.th/handle/123456789/1998

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2. (2564). รายงานการจัดการศึกษาประจำปีงบประมาณ 2564. เสมาธรรม.

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์. (2564). แผนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลในระยะ 3 ปี (2559-2563). กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01