แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารในยุคศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

ผู้แต่ง

  • ยุพดี เพ็ชรสมัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

คุณลักษณะผู้บริหาร, ศตวรรษที่ 21, หลักอิทธิบาท 4

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพคุณลักษณะในยุคศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหาร โรงเรียนขยายโอกาสในยุคศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารในยุคศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 โรงเรียนขยายโอกาส เป็นการวิจัยแบบเชิงสำรวจ คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 45 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

  1. สภาพคุณลักษณะของผู้บริหารในยุคศตวรรษที่ 21 โรงเรียนขยายโอกาส ภาพรวมทั้ง 5 ด้าน ผู้บริหารมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากทีสุด ได้แก่ ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ การเป็นผู้นำทีพึงประสงค์ และความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
  2. ผลการศึกษาวิธีการพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารในยุคศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาสะท้อนให้เห็นจากการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาจะเกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งจะดำเนินงานจนประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา เพราะผู้บริหารสถานศึกษาจัด บุคลากรให้ร่วมมือกันในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
  3. แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารในยุคศตวรรษที่ 21 โรงเรียนขยายโอกาสในยุคศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส ประกอบด้วย 1) การพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษามีความสำคัญต่อการบริหารจัดการการศึกษาของสถานศึกษา เนื่องจากการบริหารจัดการศึกษาสถานศึกษาจะมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินงานจนประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ 2) วิสัยทัศน์ในการบริหารสถานศึกษา ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถในการกำหนดภาพที่คาดหวังและกระตุ้น โน้มน้าว จูงใจให้บุคลากรปฏิบัติตาม วิสัยทัศน์ขององค์กร 3) การพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารแบบมีส่วนร่วม 4) การพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารในการบริหารนวัตกรรมและการบริหารจัดการ ผู้บริหารต้องมีความมุ่งมั่นในการสร้างนวัตกรรม สร้างบรรยากาศในการทำงานที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม การยอมรับความผิดพลาดหรือความล้มเหลวอันเป็นผลจากความกล้าเสี่ยง

References

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2560). การบริหารการศึกษาและทรัพยากรทางการศึกษา. โรงพิมพ์สถาบันเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ.

ทวีภรณ์ วรชิน, สมเจตน์ ภูศรี, และเกรียงศักดิ์ ไพรวรรณ. (2559). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วารสารการบริหารการปกครอง, 5(2), 146-164. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/88373

เทื้อน ทองแก้ว. (2550). สมรรถนะ: หลักการและแนวปฏิบัติ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). ธรรมนูญชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 12). โรงพิมพ์การศาสนา.

สงวน สุทธิเลิศอรุณ. (2550). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาฅน (พิมพ์ครั้งที่ 7). อักษราพิพัฒน์.

สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2556). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 7(1), 1-8. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/55490

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ.2557-2560) ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01