การวิจัยและพัฒนาความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรคของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 102-108

Authors

  • ขัตติยา น้ำยาทอง

Abstract

สังคมในปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีต่างๆ การที่บุคคลจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพนั้น จะต้องได้รับการฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถทั้งความรู้และทักษะต่างๆ  โดยเฉพาะสังคมที่มีการแข่งขันกันสูงในปัจจุบันนี้  ความรู้ความสามารถด้านสติปัญญาเพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ  ที่จะทำให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้เพราะย่อมต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆมากมาย ทำให้เกิดความรู้สึกกดดัน ตึงเครียด ส่งผลให้บุคคลมีปฏิกิริยาตอบโต้สถานการณ์ต่างๆในชีวิตแตกต่างกัน  การที่บุคคลจะสามารถหันหน้าเผชิญกับปัญหา และใช้วิธีการในการแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างเหมาะสมนั้น จะต้องได้รับการฝึกฝนทักษะ และเรียนรู้ที่จะอดทนอดกลั้น เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่กดดัน ตึงเครียด จึงจะทำให้บุคคลนั้นสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข บุคคลจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการฝึกฝนทักษะ และเรียนรู้ที่จะอดทนอดกลั้นเมื่อพบกับปัญหาต่างๆ  ซึ่งก็คือความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรคนั่นเอง 

ความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรคสามารถที่จะพัฒนาเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงได้ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะอายุเท่าไรหรือเริ่มต้นที่จุดใดก็ตาม (Stoltz 1997 : 53)  ดังนั้น ความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรคจึงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในชีวิตและการงาน (Stoltz 1997 :7)

ผู้เขียนในฐานะที่เป็นผู้สอน ได้ตระหนักเห็นความสำคัญของความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรค ที่ว่าความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรคเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้บุคคลประสบความสำเร็จ  ซึ่งควรจะพัฒนาให้เกิดขึ้นกับทุกๆคน  โดยเฉพาะกับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ซึ่งอุปสรรคเบื้องต้นก่อนการทำงานนั่นก็คือ การเรียน  อีกทั้งในอนาคตจะต้องประกอบอาชีพการงาน  ซึ่งมีโอกาสที่จะต้องพบกับปัญหาต่างๆมากมาย ผู้เขียนจึงได้ศึกษาค้นคว้าทฤษฎีแนวคิด หลักการ งานวิจัย ทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิชาการ ผู้ปฏิบัติ และได้เรียบเรียงสาระสำคัญที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้อง โดยเน้นการนำเสนอการวิจัย และพัฒนาความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรคด้านการเรียนของนักศึกษา  และผู้เขียนคาดหวังว่าบทความนี้จะก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนต่อการส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ  เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรคให้เกิดกับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป 

References

ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์. AQ อึดเกินพิกัด. บิสคิต (ในเครือเอ็กซเปอร์เน็ทบุ๊คส์). 2548. แปลจาก
Adversity Quotient : Turning Obstacles into Opportunities. By Stoltz, Paul G. 1997.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพพิทักษ์. รายงานการวิจัยเรื่องวิกฤตและยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์เพื่อ
ปฏิรูปการศึกษาในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ระยะที่ 9-10 (พ.ศ. 2545-2554). กรุงเทพฯ : สำนักงาน
ปฏิรูปครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2544.
พิน สงค์ประเสริฐ. การพัฒนารูปแบบการประเมินผลการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติงานของนักเรียนในสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์เขต 1. รายงานการวิจัย. เพชรบูรณ์. 2550.
วิทยา นาควัชระ. การเลี้ยงลูกให้เก่งดีมีสุข IQ EQ MQ AQ. กรุงเทพฯ : Goodbook. 2544.
สุปาณี สนธิรัตน และคณะ. จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ภาควิชาจิตวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2537.
สุรภี เทพานวล. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานประดิษฐ์
สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี. สารนิพนธ์ กศ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2550.
สุรศักดิ์ ศรีสว่างรัตน์. ผลการประเมินโครงการวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่นำไปสู่คุณลักษณะ
ของผู้เรียนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 3. 2552.
สุวิมล ว่องวาณิช. การประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ครั้งที่ 5 : มุมมองเกี่ยวกับการวิจัยเพื่อ
พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาของครู. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา. 2553.
อำนาจ ช่างเรียน. การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.. 2532.

Borg, Walter R ;& Merigith, D. Gall. Educational Reaearch:AnIntroduction.5thed.,
New York : Longman, Inc. 1989.
Stoltz, Paul G. Adversity Quotient : Turning Obstacles into Opportunities.
New York : John Wiley & Sons, Inc. 1997.

Downloads

Published

2021-08-27

How to Cite

น้ำยาทอง ข. (2021). การวิจัยและพัฒนาความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรคของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 102-108. Ubon Ratchathani Journal of Research and Evaluation, 1(1), 102–108. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ubonreseva/article/view/250798